การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยพลังเครือข่ายการศึกษาสำหรั
ประเภทของผลงาน นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
สายงาน การบริหารสถานศึกษา
ชื่อผู้ศึกษา ว่าที่ร้อยตรีอนุวัฒน์ ฉินสูงเนิน
ปีที่ทำการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
ในการศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยพลังเครือข่ายการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาลนครนครราชสีมาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาลนครนครราชสีมา 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยพลังเครือข่ายการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาลนครนครราชสีมา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยพลังเครือข่ายการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาลนครนครราชสีมา และ 4) ประเมินความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยพลังเครือข่ายการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาลนครนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาลนครนครราชสีมา ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาใช้แบบบันทึกความคิดเห็น แบบประเมินคุณภาพ แบบสอบถามระดับการปฏิบัติงาน แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า
1. โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาลนครนครราชสีมา ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา มุ่งส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนทุกคนได้มีโอกาสรับบริการจากการจัดการศึกษาอย่าง เท่าเทียมกันอย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยการมีส่วนร่วม โรงเรียนมีนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษจึงได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าหาแนวทางสำหรับใช้ในการดูแลช่วยเหลือและพัฒนานักเรียน ยังไม่มีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จึงได้มีการประสานงานเพื่อสร้างเครือข่ายทางการศึกษามาร่วมศึกษาและหาแนวทางในการแก้ปัญหา
2. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยพลังเครือข่ายการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มี ความต้องการพิเศษในโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) มี 10 ขั้น คือ ขั้นการวางแผนพัฒนาโรงเรียน ขั้นการปฏิบัติตามแผน/โครงการ ขั้นการเตรียมการ ขั้นการรับนักเรียน ขั้นการจัดการเรียนการสอนและศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล ขั้นการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิกนักเรียน ขั้นการจัดทำระบบข้อมูลนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ขั้นการจัดการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและการนิเทศ ขั้นการประเมินผล และขั้นการเลื่อนชั้น/จบการศึกษา มีคู่มือการใช้รูปแบบ จำนวน 3 เล่ม คือ คู่มือการบริหารจัดการศึกษาด้วยพลังเครือข่ายการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มี ความต้องการพิเศษในโรงเรียนสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายการศึกษา ประกอบด้วย ครูแนะแนว ครูประจำชั้น ครูประจำวิชา ผู้ปกครองนักเรียน โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โปรแกรมการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครราชสีมา ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา สถาบันราชานุxxxล กรมสุขภาพจิต สภาคนพิการทุกประเภทจังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายผู้ปกครองรวมพลคนรักลูก และโปรแกรมการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัย ราชภัฏสงขลา และมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยพลังเครือข่ายการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาลนครนครราชสีมา โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปฏิบัติงานมาก และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ของโรงเรียนที่ร้อยละ 70
4. ความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาด้วยพลังเครือข่ายการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาลนครนครราชสีมา โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก