LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 พ.ย.2567 23 พ.ย. 2567โรงเรียนตากพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 23 พ.ย.-16 ธ.ค.2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567

การประเมินโครงการหลักสูตรคู่ขนานโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาล

usericon

การประเมินโครงการหลักสูตรคู่ขนานโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เทศบาล
ชื่อผลงานทางวิชาการ    การประเมินโครงการหลักสูตรคู่ขนานโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ)เทศบาลนครนครราชสีมา
ประเภทของผลงาน    นวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
สายงาน        การบริหารสถานศึกษา
ชื่อผู้ศึกษา        ว่าที่ร้อยตรีอนุวัฒน์ ฉินสูงเนิน
ปีที่ทำการศึกษา        2554-2555
    

บทคัดย่อ[center][/center]
    การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อมของโครงการหลักสูตรคู่ขนานโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) 2) ประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยพื้นฐานของโครงการหลักสูตรคู่ขนานโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) 3) ประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการของโครงการหลักสูตรคู่ขนานโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) และ 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการหลักสูตรคู่ขนานโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร 4 คน ครู 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน 100 คน นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 100 คน รวม 229 คน
    ผลการประเมิน พบว่า
    1. สภาพแวดล้อมของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก รายการที่มี ความเหมาะสมมากที่สุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับปัญหาของโรงเรียน ส่วนรายการที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด คือ โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อในการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
    2. ปัจจัยพื้นฐานของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มี ความเหมาะสมมากที่สุด คือ ผู้บริหารเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนโครงการ ส่วนรายการที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด คือ แหล่งวิทยาการสำหรับการค้นคว้าและพัฒนางาน
    3. กระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการ 3 ขั้นตอน สรุปได้ดังนี้    
        3.1     ขั้นเตรียมการ โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ปัจจัยที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ส่วนรายการที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด คือ การเตรียมการด้านอาคารสถานที่ งบประมาณ วัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ    
        3.2 ขั้นดำเนินการ โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก การดำเนินการที่มี ความเหมาะสมมากที่สุด คือ บุคลากรทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ ส่วนการดำเนินการที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด คือ การนิเทศติดตามผลของผู้บริหาร
        3.3 ขั้นประเมินผล โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ขั้นประเมินผลที่มี ความเหมาะสมมากที่สุด คือ ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามโครงการ ส่วนรายการที่มีความเหมาะสมน้อยที่สุด คือ งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานมีความเหมาะสมและครูติดตามผลการเรียนของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ
    4. ผลผลิตของโครงการ ทั้ง 6 ส่วน สรุปได้ดังนี้
        4.1 ผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการหลักสูตรคู่ขนาน
            1) โรงเรียนมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างเทศบาลนครนครราชสีมาและสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาเพื่อเปิดสอนหลักสูตรคู่ขนาน
            2) โรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) และวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา (คู่ขนาน) ร่วมกัน สำหรับใช้ประกอบการดำเนินโครงการ 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและช่างยนต์
            3) โรงเรียนเริ่มเปิดรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2552 ศึกษาต่อในหลักสูตรคู่ขนาน จำนวน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและช่างยนต์ ตามความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 35 คน ในปีการศึกษา 2553 เปิดรับนักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 33 คน ในปีการศึกษา 2554 เปิดรับนักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 45 คน ในปีการศึกษา 2555 เปิดรับนักเรียนจำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 41 คน
            4) เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่วันจันทร์ถึงศุกร์และช่วงปิดภาคเรียนทุกภาคเรียน ในวันจันทร์ถึงวันพุธ นักเรียนเรียนวิชาสามัญ โดยมีครูโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) เป็นครูผู้สอน ส่วนในวันพฤหัสบดี วันศุกร์และช่วงปิดภาคเรียน นักเรียนเรียนวิชาชีพ โดยมีครูวิทยาลัยเทคนิค สุรนารีเป็นครูผู้สอน
            5) ในปีการศึกษา 2554 มีนักเรียนจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 35 คน นักเรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) และได้รับวุฒิการศึกษาทางวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี ทั้ง 35 คน และในการศึกษา 2555 มีนักเรียนจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 33 คน นักเรียนจะได้รับวุฒิการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนเทศบาล ๔ (เพาะชำ) และได้รับวุฒิการศึกษาทางวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี ทั้ง 33 คน
        4.2 ผลการพัฒนาระบบการเรียนการสอนของครู พบว่า ครูผู้สอนได้พัฒนาระบบ การเรียนการสอน โดยเริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์นักเรียนปรับพื้นฐาน และจัดกลุ่มนักเรียน ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และ การประเมินผลแต่ละหน่วย การจัดการเรียนการสอน การนิเทศภายในแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้แต่ละหน่วย การปรับปรุง แก้ไขและวิจัยปฏิบัติการ ดำเนินการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ พัฒนาระบบการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และสรุปรายงานผลการพัฒนาระบบการเรียนการสอน ซึ่งผลการดำเนินงานทุกขั้นตอนผ่านเกณฑ์การประเมินของโรงเรียนในระดับดี
        4.3 คุณภาพการสอนของครู ก่อนและหลังดำเนินโครงการ สรุปได้ดังนี้
            1) ก่อนสอนโดยรวมคุณภาพการสอนของครูก่อนสอน ก่อนดำเนินโครงการอยู่ระดับปานกลาง และหลังดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
            2) ระหว่างสอนโดยรวมคุณภาพการสอนของครูระหว่างสอน ก่อนดำเนินโครงการอยู่ระดับปานกลาง และหลังดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
            3) หลังสอนโดยรวมคุณภาพการสอนของครูหลังสอน ก่อนดำเนินโครงการอยู่ระดับปานกลาง และหลังดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
        4.4 คุณภาพการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการ สรุปได้ดังนี้
            1) ก่อนเรียนโดยรวมคุณภาพการเรียนของนักเรียนก่อนเรียน ก่อนดำเนินโครงการอยู่ระดับปานกลาง และหลังดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
            2) ระหว่างเรียนโดยรวมคุณภาพการเรียนของนักเรียนระหว่างเรียน ก่อนดำเนินโครงการอยู่ระดับปานกลาง และหลังดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
            3) หลังเรียนโดยภาพรวมคุณภาพการเรียนของนักเรียนหลังเรียน ก่อนดำเนินโครงการอยู่ระดับปานกลาง และหลังดำเนินโครงการอยู่ในระดับมาก
        4.5 ค่าเฉลี่ยร้อยละของระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการประเมินผลปลายปีของครูทุกระดับชั้นพบว่า หลังดำเนินโครงการ (ปีการศึกษา 2554-2555) สูงกว่าก่อนดำเนินโครงการ (ปีการศึกษา 2552)
        4.6 ความพึงพอใจต่อโครงการของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ประสานงานโครงการ ครูเข้าโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยรวมมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
27 เม.ย. 2557 เวลา 00:36 น. 0 1,703
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^