รายงานผลการพัฒนาบทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการ
การเรียน เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช ก่อนและหลังการใช้บทเรียนโมดูล และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อบทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 โดยผู้ศึกษาได้ใช้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย
1. บทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 9 ชุด คือ
ชุดที่ 1 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ชุดที่ 2 โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
ชุดที่ 3 การลำเลียงของสารผ่านเซลล์
ชุดที่ 4 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
ชุดที่ 5 ระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืช
ชุดที่ 6 การสืบพันธ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก
ชุดที่ 7 การสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอก
ชุดที่ 8 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช
ชุดที่ 9 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ของพืช
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน บทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 ข้อ
3. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ของแต่ละเรื่องในบทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
4. แผนการจัดการเรียนรู้ บทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช
5. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ที่มีต่อบทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรง ชีวิตของพืชเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ของลิเคอร์ท (Likert Scale) ซึ่งแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนวิชาฟิสิกส์ต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม มีจำนวน 30 ข้อ
สรุปผลการศึกษา
การใช้บทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย สรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของบทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 มีประสิทธิภาพเฉลี่ย ทั้ง 9 ชุด เท่ากับ 86.30/90.91 โดยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด (80/80) เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 1
บทเรียนโมดูล ชุดที่ 1 เซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.26/91.82
บทเรียนโมดูล ชุดที่ 2 โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.06/90.91
บทเรียนโมดูล ชุดที่ 3 การลำเลียงของสารผ่านเซลล์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.30/91.82
บทเรียนโมดูล ชุดที่ 4 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.09/89.09
บทเรียนโมดูล ชุดที่ 5 ระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืช มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.20/90.91
บทเรียนโมดูล ชุดที่ 6 ระบบลำเลียงน้ำและอาหารของพืช มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.95/91.82
บทเรียนโมดูล ชุดที่ 7 การสืบพันธ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.19/89.09
บทเรียนโมดูล ชุดที่ 8 การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.27/91.82
บทเรียนโมดูล ชุดที่ 9 การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการขยายพันธุ์ของพืช มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.35/90.91
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการใช้บทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ปรากฏว่าคะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (X) หลังเรียนเท่ากับ 26.55 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หลังเรียน เท่ากับ 1.04 โดยมีคะแนนสูงกว่า ก่อนการใช้ บทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 2
3. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนโมดูล เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิตของพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองแรดวิทยา อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4. 51, S.D. = 0.91) เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 3