ผลของการใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม ( TGT ) ฯ
ชื่อ-ชื่อสกุลผู้วิจัย นายฟัฎลี แนโม
ตำแหน่ง ครู คศ.1 โรงเรียนบ้านต้นแซะ
ปีที่ทำวิจัยเสร็จ 2557
[center] บทคัดย่อ[/center]
[hr][hr][hr]การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน สาระการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) 2 ) เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-Net สาระการเรียนรู้ที่1 จำนวนและการดำเนินการ ระหว่างปีการศึกษา 2555 และปีการศึกษา 2556 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม (TGT) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านต้นแซะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 จำนวน 33 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มี 3 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 6 หน่วยการเรียนรู้ 30 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค TGT แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Sample)
[left]ผลการวิจัยปรากฏดังนี้[/left]
[left][/left] 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ได้รับการสอนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือโดยใช้ทีมการแข่งขันเป็นทีม (TGT) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
[left][/left]2 ) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-Net สาระการเรียนรู้ เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ปีการศึกษา 2556 มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2555 เท่ากับ 8.85 คะแนน
[left][/left]3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบการแข่งขันเป็นทีม
( TGT ) สาระการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนและการดำเนินการ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก