การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD
เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit)
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นายเสนอ เท่าเทียม
สถานศึกษา โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ คือ
1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit)
4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนเบิดพิทยาสรรค์ ตำบลเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 41 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 2 ชนิด ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 6 และชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.22 - 0.75 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.26 - 0.94 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.83 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.44 – 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. ชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 78.92/77.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.58 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 58
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) หลังจากเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.45, S.D. = 0.73) ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านที่ 2 ชุดฝึกปฏิบัติ
โดยใช้เทคนิค STAD ทำให้นักเรียนเข้าใจในการเรียนภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.63, S.D. = 0.55) รองลงมาคือ ด้านที่ 8 การเล่นละคร Skit ทำให้นักเรียนมีทักษะภาษา อังกฤษที่ดีขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.70) รองลงมาคือ ด้านที่ 1 นักเรียนรู้สึกสนุกสนาน มีความสุขกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51,
S.D. = 0.78) และด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 7 เนื้อหาในเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายาก อยู่ในระดับมาก ( = 4.23, S.D. = 0.84)
สรุปผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าชุดฝึกปฏิบัติโดยใช้เทคนิค STAD เรื่อง Acting Out: Learning through Dramatization (Skit) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นสื่อการจัด
การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน เหมาะสำหรับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่ม ซึ่งนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันมาเรียนรู้หรือทำงานร่วมกัน ดังนั้นควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูสาระการเรียนรู้อื่น ๆ หรือระดับชั้นอื่น ๆ นำไปเป็นนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ
เจตคติ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ตามเจตนารมณ์
ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ต่อไป