รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียน
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน สุพจน์ เพ็ชรโต
ปีที่ศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำและอากาศ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำและอากาศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านคลองห้วยหลัว ตำบลท้ายทุ่ง อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง น้ำและอากาศ จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถาม
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีข้อคำถาม จำนวน 10 ข้อ
สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที
(t - test) ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.72/85.17 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้เรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง น้ำและอากาศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำและอากาศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง
น้ำและอากาศ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับ
พึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.23) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้