ผลงานทางวิชาการ นายภานุ อ่ำใหญ่ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหว
ท้องถิ่น (SBMLD)
ผู้วิจัย นายภานุ อ่ำใหญ่
สถาบัน โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์)
สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัด
สุราษฎร์ธานี
ปีที่พิมพ์ 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) 2) วิเคราะห์องค์ประกอบในการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) และ 3) หาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ (Phase) 6 ขั้นตอน ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์เอกสาร และใช้แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหาแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 2 การยกร่างและการพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 ทำการร่างการพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 สร้างและทำการยืนยันการพัฒนารูปแบบ ระยะที่ 3 การทดลองใช้การพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 5 นำรูปแบบที่ได้ไปทดลองใช้ และขั้นตอนที่ 6 สรุปผลการใช้การพัฒนารูปแบบ
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารโดยโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหา การดำเนินงาน
2. องค์ประกอบในการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า ปัจจัยทางการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ประกอบด้วย 14 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านความมุ่งของครูและบุคลากรทางการศึกษา ปัจจัยด้านคุณภาพ การปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านความร่วมมือของชุมชน ปัจจัยด้านการบริหารจัดการที่ดีของสถานศึกษา ปัจจัยด้านความมุ่งมั่นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัจจัย ด้านความสัมพันธ์ชุมชนของสถานศึกษา ปัจจัยด้านการบริหารความเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านการวิจัยในชั้นเรียน ปัจจัยด้านความพรอมของสถานศึกษา ปัจจัยด้านความศรัทธาของชุมชนต่อสถานศึกษา ปัจจัยด้านความเหมาะสมของแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ปัจจัยด้านการยอมรับ นับถือของชุมชนต่อผู้บริหารสถานศึกษา
รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ประกอบด้วย ข้อความและแผนภูมิ ซึ่งอธิบายแนวทางการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School – Based Management For Local Development) ครอบคลุมองค์ประกอบหลักของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ไดแก สวนที่ 1 หลักการพื้นฐาน (Foundations) ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 2) หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) และ3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ สวนที่2 โครงสร้างระบบบริหาร (Administrative System Structures) ประกอบด้วย 1) ปัจจัยการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) 2) ขอบข่ายการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) 3) กระบวนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) 4) มาตรการกำกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) และ5) คุณภาพผลผลิตการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) สวนที่ 3 ขั้นตอนการดำเนินงาน (Procedure Phases) ประกอบด้วย 1) การเตรียมการดำเนินงาน 2) การดำเนินงาน 3) การประเมินผล และ4) สรุปแลรายงานผล รวมทั้งองค์กรสนับสนุนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ประกอบด้วย 1) กระทรวงมหาดไทย ไดแก กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานการศึกษาท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายโรงเรียน 4) คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และ5) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน
3. ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD)
ทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) โดยการประชุมเพื่อยืนยันประสิทธิผลของการการพัฒนารูปแบบ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้วิจัย บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 6 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วยจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง และบุคลากรโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) จากการประชุมสรุปประเด็นสำคัญจากบุคลากรทั้ง 4 จังหวัด ได้ดังนี้
ด้านการพัฒนาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ตามองค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบ คือ ความเป็นมาและความสำคัญ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการ และการวัดและประเมินผล
สรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) เพื่อให้บุคลากรได้มีความตระหนักรู้ มีความรู้ ความเข้าใจ แล้วเกิดประโยชน์สูงสุดด้านการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD)