รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นปร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง.
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามเกณฑ์ 75/75(2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ที่ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย อีกทั้งผู้รายงานเป็นครูประจำชั้นห้องเรียนดังกล่าวด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 5 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าที ผลการศึกษาพบว่า แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.09/88.29 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนอนุบาลวัดอ่างทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง จำนวน 48 คน ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ สนุกคิดพิชิตการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.57)และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความ พึงพอใจด้านการวัดและประเมินผลมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.59) รองลงมาคือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ค่าเฉลี่ย = 4.58) และด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน (ค่าเฉลี่ย = 4.54)ตามลำดับ