บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดก
ผู้วิจัย นายสวรรค์ กวดขุนทด
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนสามัคคีบำรุง สำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
ปีที่พิมพ์ 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตทุ่งครุ สังกัดกรุงเทพมหานคร ตามความคิดเห็นของครูใน 4 ด้าน ได้แก่ การจัดทำหลักสูตร การวัดและประเมินผล การสนับสนุนทรัพยากร และการจัดสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตทุ่งครุ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที(t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตามความคิดเห็นของครูที่ปฏิบัติการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตามความคิดเห็นของครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. บทบาทของผู้บริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ จะมีความพร้อมและได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร และความร่วมมือจากครูภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กได้รับงบประมาณไม่เพียงพอ มีบุคลากรน้อย และขาดครูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดทักษะความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น