รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญา
[center]บทสรุป[/center]
การประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2556 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการดำเนินงานและประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยมีวิธีการประเมิน 2 ลักษณะคือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น การประเมินโดยใช้แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับสถานศึกษาและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างครู ปีการศึกษา 2556 จำนวน 28 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 255 จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2556 จำนวน 226 คนและกลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 226 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิดจำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับ ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.87 – 0.97 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2556 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน คลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2556 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 16.5 ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2556 ด้านสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.40 , S.D. = .25) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.58 , S.D. = .45) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดความสอดคล้องกับนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด ( = 4.46 , S.D. = .43) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดความเหมาะสม ของวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 4.27 , S.D. = .28) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2556 ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.27 , S.D. = .21) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.36 , S.D. = .43) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดการบริหารจัดการ ( = 4.29 , S.D. = .57) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.21 , S.D. = .53) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2556 ด้านกระบวนการ
3.1 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.22 , S.D. = .26) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.38 , S.D. = .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3.50 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ( = 4.23 , S.D. = .29) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 7 ผ่านเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.09 , S.D. = .33) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 7 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของนักเรียนจำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.23 , S.D. = .29) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.39 , S.D. = .33) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3.50 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ( = 4.24 , S.D. = .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 7 ผ่านเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.10 , S.D. = .37) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 7 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง จำแนก ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.25 , S.D. = .29) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.40 , S.D. = .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3.50 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ( = 4.24 , S.D. = .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 7 ผ่านเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.14 , S.D. = .36) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 7 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2556 ด้านผลผลิต ได้แก่
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.1.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษา ของสถานศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของครู จำแนก ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.31 , S.D. = .33) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.37 , S.D. = .35) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ( = 4.35 , S.D. = .40) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดคุณภาพ การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 4.25 , S.D. = .38) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษา ของสถานศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของนักเรียน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.31, S.D. = .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.36 , S.D. = .35) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ( = 4.32 , S.D. = .40) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.26 , S.D. = .38) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษา ของสถานศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.31 , S.D. = .32) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.36 , S.D. = .34) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้วัดคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ( = 4.32 , S.D. = .40) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินและตัวชี้วัดคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.26 , S.D. = .38) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษา ของสถานศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย( = 4.24 , S.D. = .35) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.29 , S.D. = .42) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ คุณภาพหลักสูตรและการจัดการเรียน การสอน ตัวชี้วัด ( = 4.28 , S.D. = .34) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน และตัวชี้วัดคุณภาพการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.19 , S.D. = .39) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2556
4.2.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับสถานศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 70.87 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนคลองยางประชานุสรณ์ ปีการศึกษา 2556 มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวม ปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 39.80 ปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ36.54 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวม ปีการศึกษา 2555 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.36 ปีการศึกษา 2556 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 32.39 ปีการศึกษา 2556 ต่ำกว่าปีการศึกษา 2555 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 0 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความสามารถของนักเรียน ครูและผู้ปกครองเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่ สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของครู นักเรียนและผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.24 , S.D. = .26) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า
4.3.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความสามารถของนักเรียน ครูและผู้ปกครองเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชนตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.24 , S.D. = .27) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความสามารถของนักเรียน ครูและผู้ปกครองเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.24 , S.D. = .26) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความสามารถของนักเรียน ครูและผู้ปกครองเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.24 , S.D. = .25)อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์ประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.33 , S.D. = .28) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า
4.4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย( = 4.35 , S.D. = .28) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.33 , S.D. = .28) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.33 , S.D. = .28) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม พบว่า มีค่าเฉลี่ย ( = 4.30 , S.D. = .25) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ จากผลการประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเห็นเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้น ในการจัดทำโครงการโรงเรียน ควรชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจในวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการให้ชัดเจน
2. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ควรดำเนินการวางแผน ดำเนินการตามแผน ประเมินตรวจสอบและนำผล การประเมินมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาอย่างเป็นระบบครบวงจรและต่อเนื่อง
3. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จัดทำกิจกรรมการเรียนการสอน การผลิตสื่อ การเผยแพร่สื่อ นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้และนำผลการประเมินมาพัฒนาการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ในการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ควรมีการดำเนินการวางแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้รู้จักศักยภาพของตนเอง มีการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้นักเรียนทำโครงงาน ที่หลากหลาย นำภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมและหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำโครงงาน ส่งเสริมการจัดตั้งชุมนุมที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นจิตอาสา จิตสาธารณะ ขยายผลกิจกรรมไปสู่ชุมชนให้มากขึ้น
5. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านพัฒนาบุคลากร ควรมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายในการพัฒนาบุคลากร เช่น การประชุม อบรม สัมมนา จัดกิจกรรมให้ความรู้ กิจกรรมถอดประสบการณ์จากการปฎิบัติจริง ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประเมินผลเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและเผยแพร่สู่ชุมชน ร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เคารพ เทิดทูนสถาบันศาสนา พระมหากษัตริย์และการปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม
6. กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ กำกับ ติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง
ข้อเสนอแนะแนวทางในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
1. ควรประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยประยุกต์ทฤษฎีการประเมินอื่นๆ มาใช้ในการประเมินโครงการ เช่น การประเมิน โดยยึดวัตถุประสงค์ เป็นต้น
2. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง