รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
เรื่อง : รายงานผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร”
โรงเรียนบ้านเลโคะ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อผู้ศึกษา : นายบำรุงศักดิ์ บูระสิทธิ์
ปีการศึกษา : 2555
การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน เพื่อประเมินบริบทของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” และเพื่อประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร”
ประชากรที่ใช้ในการประเมิน โดยประเมินจากกลุ่มประชากรซึ่งเป็นภาคีเครือข่าย “พอสมควร” ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) หรือองค์กรด้านการพัฒนา จำนวน 13 คน ฝ่ายบริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลสบเมย จำนวน 17 คน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเลโคะ จำนวน 5 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน ผู้ปกครอง จำนวน 130 คน พระสงฆ์ จำนวน 3 รูป และครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15 คน ส่วนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะการประเมินผลผลิตโครงการในประเด็นความพึงพอใจต่อโครงการและการประเมินผลกระทบในประเด็นความมุ่งมันในการทำความดีและความเอาใจใส่ต่อการเรียน จำนวน 131 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 330 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเพื่อการประเมิน จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการประเมินบริบท โครงการ (CQ1) แบบสอบถามเพื่อการประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการ (IQ2) แบบสอบถามเพื่อการประเมินกระบวนการโครงการ (PQ3) แบบสอบถามเพื่อการประเมินผลผลิตโครงการ (PrQ7) และ แบบสอบถามเพื่อการประเมินผลกระทบโครงการ (ImQ8) 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อการประเมินการให้ความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” (PI4) 3) แบบรายงานสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน (PrR5) และ 4) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเพื่อการประเมินผลสำเร็จโครงการ (PrF6)
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ประเมินได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อการประเมิน ในการประเมินปัจจัยบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลิตโครงการ ซึ่งผู้ประเมินเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ส่วนการประเมินกระบวนการโครงการในประเด็น การให้ความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” นั้น ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อการประเมินการให้ความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” โดยผู้ประเมินเป็นผู้สัมภาษณ์ การประเมินผลผลิตโครงการ ในประเด็นผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยใช้แบบรายงานสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ซึ่งสรุปรวบรวมจากผลการประเมินจากครูผู้สอน ประเด็นผลสำเร็จของโครงการ ใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเพื่อการประเมินผลสำเร็จโครงการ โดยผู้ประเมินเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง แล้วนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์และนำไปวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลจากการตอบแบบสอบถามเพื่อการประเมินที่เป็นข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อการประเมิน วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย () และค่าร้อยละ ข้อมูลที่เกี่ยวกับความคิดเห็นของการประเมินโครงการ วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย () และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ซึ่งสามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” โรงเรียนบ้านเลโคะ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สรุปตามกรอบแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการประเมิน ดังนี้
1.1 การประเมินก่อนเริ่มโครงการ
1.1.1การประเมินบริบทโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” โรงเรียนบ้านเลโคะ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.82 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ประเด็นปัญหา คือ การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและเครือข่ายในแนวทางการดำเนินโครงการยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก ส่วนประเด็นข้อเสนอแนะ ควรมีการประชุมชี้แจงและประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการให้ผู้ปกครองและเครือข่ายได้ทราบอย่างชัดเจน เพื่อเอื้อต่อการดำเนินโครงการให้บรรลุผลสำเร็จ
1.1.2 การประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” โรงเรียนบ้านเลโคะ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.18 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ประเด็นปัญหา คือ การสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองในความต้องการจำเป็น หลักการและเหตุผลของการดำเนินโครงการยังขาดรายละเอียดที่ชัดเจน และ ประเด็นข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการประชุมชี้แจงรายละเอียดความต้องการจำเป็น หลักการและเหตุผลของโครงการให้ผู้ปกครองทราบอย่างชัดเจน เพื่อเอื้อต่อการดำเนินโครงการให้บรรลุผล
1.2 การประเมินระหว่างดำเนินโครงการ
1.2.1 การประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” โรงเรียนบ้านเลโคะ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยผลการประเมิน 2 ส่วน สรุปผล ดังนี้
1.2.1.1 การประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ในประเด็นการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และการนิเทศ ติดตามโครงการ จากการตอบแบบสอบถามเพื่อการประเมินกระบวนการโครงการโดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.06 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ประเด็นปัญหา คือ นักเรียนมีบทบาทในการให้ความร่วมมือด้านการวางแผนการจัดกิจกรรมคุณธรรมน้อย และประเด็นข้อเสนอแนะ คือ ควรกระตุ้นให้นักเรียนได้เพิ่มบทบาทในการวางแผนการจัดกิจกรรมร่วมกับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนมากยิ่งขึ้น
1.2.1.2 การประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ในประเด็นการให้ความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” จากการสัมภาษณ์ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบ พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบโครงการ มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนเป็นอย่างดี ภาคีในเครือข่าย “พอสมควร” ได้ให้ความร่วมมือในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในภาคีเครือข่าย ทั้งในทางตรง และทางอ้อม ภาคีในเครือข่าย “พอสมควร” ที่เป็นภาคีหลักสำคัญในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ทุกภาคีในเครือข่าย “พอสมควร” ต่างมีความสำคัญในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์เท่าเทียมกัน เพียงแต่ต่างบทบาท ต่างหน้าที่และต่างประเด็นการให้ความร่วมมือเท่านั้น นอกจากภาคีหลักสำคัญที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนดังกล่าวแล้ว ภาคีอื่น ๆ ในเครือข่าย “พอสมควร” มีลักษณะของการให้ความร่วมมือทั้งการสนับสนุนงบประมาณ ประสานการจัดกิจกรรม และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเชิงแสนอแนะ เครือข่าย “พอสมควร” ที่ได้ช่วยเหลือ สนับสนุนงบประมาณหรือทรัพยากรในการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ซึ่งพบว่า ในแทบทุกภาคีในเครือข่าย “พอสมควร” ที่มีส่วนร่วมสนับสนุนในการจัดกิจกรรมในรูปแบบของงบประมาณหรือทรัพยากรในการดำเนินโครงการแทบทั้งสิ้น
1.3 การประเมินหลังสิ้นสุดโครงการ
1.3.1 การประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” โรงเรียนบ้านเลโคะ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยผลการประเมิน 3 ส่วน สรุปผล ดังนี้
1.3.1.1 การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ในปีการศึกษา 2554 นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.50 ระดับดีเยี่ยม จำนวน 147 คน คิดเป็นร้อยละ 97.50 และ ในปีการศึกษา 2555 มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.42 ระดับดีเยี่ยม จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 98.58
1.3.1.2 การประเมินความสำเร็จของโครงการ จากการสนทนากลุ่มเพื่อการประเมินผลสำเร็จโครงการ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในสถานศึกษา และกลุ่มประธานและคณะกรรมการสภานักเรียน จากการสนทนากลุ่ม 3 ครั้ง ผู้ร่วมสนทนากลุ่มรวมทั้งสิ้น 20 คน สรุปได้ว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบโครงการ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา และประธานและคณะกรรมการสภานักเรียน มีความเข้าใจเป็นอย่างดีในแนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ พฤติกรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนหลังดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” ความประพฤติปฏิบัติไปในทิศทางที่เหมาะสม โครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” มีส่วนช่วยทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเชิงคุณธรรมที่ปรากฏอย่างประจักษ์ชัด หลังจากการดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” มาแล้ว 2 ปี นักเรียนมีการปรับปรุงพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ จนเป็นที่น่าพอใจ และถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างครบถ้วนทุกประการ การดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” ของโรงเรียนบ้านเลโคะ ในภาพรวม เกิดภาพความสำเร็จที่สำคัญของการจัดกิจกรรมคุณธรรมที่มีความแปลกใหม่ น่าสนใจและสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน การดำเนินโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” ของโรงเรียนบ้านเลโคะ ในประเด็นใดที่ถือเป็นการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ที่สามารถเป็นแบบอย่างและควรนำไปขยายผล คือ ทุกกิจกรรมที่นักเรียนได้ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมนอกสถานศึกษา เช่น กิจกรรมสร้างวิมานดินถิ่นสุขารมณ์ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์ราชันย์ กิจกรรมห้องน้ำติดดาว กิจกรรมบ้านน่าอยู่ ชุมชนน่ามอง กิจกรรมพัฒนาวัดร้างเป็นวัดรุ่ง กิจกรรมกระจายบุญสู่ชุมชน กิจกรรมทอดกฐินสัมฤทธิ์เด็กดี V-star กิจกรรมอุปสมบทครูแก้วและบรรพชาสามเณรดีศรีตำบลนำร่อง และกิจกรรมชุมชนต้นแบบด้านศีลธรรม เป็นต้น ซึ่งโรงเรียนควรจะดำเนินโครงการนี้ต่อไป โดนเพิ่มกิจกรรมคุณธรรมต่าง ๆ ให้มากขึ้น และขยายกิจกรรมคุณธรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินกิจกรรมไว้แล้วไปยังผู้ปกครองทั้งที่ในหมู่บ้านเลโคะเอง และหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อเป็นส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและชุมชนต่อไปอย่างกว้างขวางต่อไป
1.3.1.3 การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยกิจกรรมคุณธรรม โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” พบว่า การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยความร่วมมือของเครือข่าย “พอสมควร” โรงเรียนบ้านเลโคะ ตำบลสบเมย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ประเด็นปัญหา คือ เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ให้ความสนใจในกิจกรรมคุณธรรมที่จัดขึ้นนอกโรงเรียน แต่กิจกรรมที่จัดขึ้นดังกล่าวนั้น มีข้อจำกัดเพียงการจัดกิจกรรมนอกโรงเรียนที่อยู่ภายในชุมชนเท่านั้น ยังขาดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมต่างพื้นที่ หรือต่างจังหวัด ซึ่งอาจได้รับการปลูกฝังสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประสบการณ์ในวงแคบเท่านั้น ประเด็นข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการจัดกิจกรรมคุณธรรมนอกโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมคุณธรรมในต่างพื้นที่หรือต่างจังหวัด เพื่อการปลูกฝังสร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ผนวกกับประสบการณ์ใหม่ที่น่าสนใจ ความประทับใจอย่างมีคุณค่ามากขึ้น