การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียนโรงเรียนวัดบ่อ (นันทวิทยา) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยวิธีการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan (1970 : 608) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 218 คน ครูจำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบทดสอบก่อนเรียน / หลังเรียน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลสรุปการวิจัยพบว่า
1. การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A)
1.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่าจุดแข็งของโรงเรียนวัดบ่อ (นันทวิทยา) พบว่าเป็นโรงเรียนที่อยู่ในแหล่งชุมชนมีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนจึงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และโรงเรียนมีคณะกรรมการสถานศึกษาที่เข้มแข็ง เพื่อให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการร่วมกับโรงเรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งในการจัดการศึกษาได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสนใจที่จะเรียนรู้ เข้ามาศึกษาได้ตามอัธยาศัย ดำเนินการสอนโดยมุ่งพัฒนานักเรียนทั้งด้านวิชาการ ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านคุณธรรม ตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่กล่าวว่า “วิชาการล้ำเลิศ เชิดชูคุณธรรม” ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 ผลการวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่าการพัฒนามุ่งพัฒนานักเรียนเป็นกำลังของชาติเป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และมุ่งพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยมุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานที่ว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ และมุ่งพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก
1.3 ผลการวิเคราะห์เป้าหมายคุณลักษณะความพอเพียงของครูและนักเรียน พบว่านักเรียนโรงเรียนวัดบ่อ (นันทวิทยา) ยังไม่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เฉพาะเรื่องคุณลักษณะการอยู่อย่างพอเพียง การใช้สินค้าประเภทที่ฟุ่มเฟือย ความซื่อสัตย์สุจริต การมีวินัย การหนีเรียน การลักขโมย และการใช้ยาเสพติดจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างเสริมคุณลักษณะความพอเพียงให้เกิดขึ้น และคงอยู่กับนักเรียนตลอดไป
1.4 ผลการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบพบว่าการที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ และขาดทักษะการคิดเป็นทำเป็น และแก้ไขปัญหาได้นั้น ควรมีการพัฒนาทักษะการติดต่อสื่อสารที่ดี ทักษะการปฏิบัติงาน และทักษะการแก้ปัญหาให้มีวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตโดยกระตุ้นส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนมีวิธีการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
1.5 ผลการศึกษาความต้องการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง และคุณธรรม จริยธรรม และคุณธรรม จริยธรรม จากการศึกษาโอกาส และอุปสรรคของสถานศึกษา (SWOT Analysis) จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2545 ที่กำหนดแนวทางปฏิบัติที่เน้นย้ำว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. การพัฒนา (Development : D1) เป็นการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัด
การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม
2.1 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน ใช้รูปแบบ “CEMKAPE Model”
2.2 การประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นภาพรวมมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ถือว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ผ่านการรับรอง
2.3 การหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.918
3. การวิจัย (Research : R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน พบว่าการเปรียบเทียบคะแนนทดสอบความรู้ ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม โดยทดสอบนักเรียน พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 12.54 และหลังเรียนเท่ากับ 15.94 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าหลังการเรียนรู้มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินผล (Evaluation : E) การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน
4.1 ประเมินทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าครูและนักเรียนมีทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมาก ถือว่าทักษะการปฏิบัติเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านการรับรอง
4.2 การสังเกตพฤติกรรมนักเรียนที่เรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1) การสังเกตพฤติกรรมนักเรียนที่เรียนรู้ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับตัวชี้วัด ที่แสดงออกบนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ถือว่าพฤติกรรมนักเรียนผ่านการรับรอง
2) ส่วนผลการสังเกตพฤติกรรมนักเรียนที่แสดงออกบนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับชั้นเรียน ที่แสดงออกบนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี ถือว่าผ่านการรับรอง
4.3 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ครูที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเสริมสร้าง คุณธรรม จริยธรรมของครูและนักเรียน พบว่าในภาพรวมมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 1 กลุ่ม คือ นักเรียน มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก 1 กลุ่ม คือ ครูถือว่าความพึงพอใจของนักเรียน ครูที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านการรับรอง