รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษ
ผู้วิจัย ว่าที่ ร.ต.ธเนศ วรรณวงศ์
ปีที่วิจัย 2556
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านคะนาสามัคคี อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 16 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 แผน 2) ชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.80 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.976 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจทั้งฉบับ เท่ากับ 0.955 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t – test
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.72/80.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.7314 คิดเป็นร้อยละ 73.14 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้าในการเรียนร้อยละ 73.14
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.20)