รายงานผลการใช้ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น เพ
การคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านคณิตศาสตร์
ผู้รายงาน นางสาวโสภา วงศาระ
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ก่อนการเรียนและหลังการเรียนโดยใช้ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึก เรื่องการบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สังกัดสำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากระบบฐานข้อมูลการคัดกรองและดูแลเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ (LD) โดยคัดเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่มีผลการคัดกรองทางด้านการคิดคำนวณอยู่ในระดับ ป. 2-3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นชุด 3 ชุด จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น แบบทดสอบวัดทักษะการคิดคำนวณ เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น และ แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรม (E1/E2) และ t-test for Dependent Sample ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โรงเรียนวิชากร สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร มีค่าเท่ากับ 84.04/85.13 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. หลังจากการเรียนโดยการใช้ชุดฝึก เรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีทักษะการคิดคำนวณหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – 6 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกเรื่อง การบวกและการลบโดยใช้ลูกคิดญี่ปุ่น ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55, =0.57)
:em13:เป็นผลงานที่มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
เป็นผลงานที่สามารถนำมาเป็นเเบบอย่างในการเรียนการสอนได้