เรื่อง การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรี
สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ผู้รายงาน สุภาภรณ์ โภคานิตย์
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านวังโพนคึมน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของเกมการศึกษา
เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2
ปีการศึกษา 2556 ก่อนการจัดกิจกรรมและหลังการจัดกิจกรรมด้วยเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนา คือ เด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2
โรงเรียนบ้านวังโพนคึมน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 6 คน
ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ ได้แก่ 1) เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อม
ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 30 เกม 2) แผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 30 แผน 3) แบบทดสอบย่อยท้ายแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 6 ชุๆ ละ 5 ข้อ รวม 30 ข้อ
มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.50 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้ออยู่ระหว่าง 0.20 ถึง 0.60
ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 และ 4) แบบทดสอบวัดความพร้อม
ทางคณิตศาสตร์สำหับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนการจัดกิจกรรมและหลังการจัดกิจกรรม จำนวน 1 ชุด มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้ออยู่ระหว่าง
0.40 ถึง 0.60 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
คือ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test
ผลการศึกษา พบว่า
1. เกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล
ปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 83.33/82.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ที่เรียนโดยใช้เกมการศึกษา
เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีคะแนนทดสอบ
หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05