LASTEST NEWS

23 ก.ค. 2567กองบัญชาการกองทัพไทย เปิดสอบพนักงานราชการ 10 อัตรา วุฒิม.3-ม.6 ตั้งแต่บัดนี้-25 กรกฎาคม 2567 23 ก.ค. 2567กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุรับราชการ วุฒิปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่ 24 ก.ค. - 7 ส.ค.2567 23 ก.ค. 2567โรงเรียนบ้านขะเนจื้อ เปิดสอบครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย / ประถมศึกษา รับสมัครตั้งแต่บัดนี้-26 กรกฎาคม 2567 23 ก.ค. 2567สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 100 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 23 ก.ค. 2567ศธ.เล็งแก้หนี้ครูระยะยาววางแผนให้ยื่นกู้สหกรณ์ข้ามจังหวัดได้ 23 ก.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย อาชีวศึกษา ปี 2567 (ภายใน 9 ส.ค.2567) 22 ก.ค. 2567โรงเรียนบ้านระนามพลวง (สมานราษฎร์วิทยาคาร) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป ค่าตอบแทน 6,000 บาท/เดือน (หกพันบาทถ้วน) ตั้งแต่วันที่ 23-26 ก.ค.2567 22 ก.ค. 2567ห้ามเลี้ยงปลาหมอคางดำ ฝ่าฝืนจำคุก 2 ปี หรือปรับ 2 ล้านบาท 22 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมกิจการเด็กและเยาวชน เปิดสอบพนักงานราชการ 77 อัตรา วุฒิม.6-ปริญญาตรี รับสมัคร ตั้งแต่ 25 ก.ค. - 1 ส.ค.2567 22 ก.ค. 2567บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด รับสมัครคัดเลือกบุคคลภายนอกเพื่อเข้าปฏิบัติงาน จำนวน 219 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 29 ก.ค.2567

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร

usericon

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร
บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ร้อยละ 75 ขึ้นไป 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนกัลยาณวัตร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 48 คนโดยคัดเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองภาคปฏิบัติ คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD จำนวน 17 แผน รวมทั้งแผนปฐมนิเทศ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบบันทึกผลหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียนและแบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ผู้ศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 4 วงจร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสรุปความเรียง
ผลการศึกษาพบว่า
1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ตามวงจรปฏิบัติการทั้ง 4 วงจรประกอบด้วย 8 ขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน นักเรียนเข้าใจจุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีปฏิบัติตนในการเรียน ทำให้มีความพร้อมและมีเป้าหมายในการเรียนรวมทั้งได้ทบทวนความรู้เดิมที่เชื่อมโยงกับความรู้ใหม่ ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย 2) ขั้นนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น จากการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของนักเรียนทำให้นักเรียนมีความตั้งใจในขณะที่นำเสนอเนื้อหา และร่วมอภิปรายจากสื่อประกอบการอธิบาย ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมตามที่กำหนด 3) ขั้นการศึกษากลุ่มย่อย นักเรียนร่วมกันศึกษาเนื้อหาบทเรียนจากบัตรงานทุกคนในกลุ่มได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือแนะนำและอธิบายให้เพื่อนทุกคนในกลุ่มเข้าใจบทเรียน 4) ขั้นสรุปนักเรียนมีความรู้ความข้าใจ สามารถสรุปเป็นความคิดรวบยอดที่ชัดเจนและครบถ้วน 5) ขั้นพัฒนาทักษะ/การนำไปใช้ นักเรียนสามารถทำแบบฝึกทักษะเป็นรายบุคคลโดยไม่ให้ช่วยเหลือกันแล้วนักเรียนตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย เพื่อศึกษาข้อผิดพลาดและทำความเข้าใจ ซึ่งนักเรียนมีความตั้งใจทำกิจกรรมเป็นอย่างดี 6) ขั้นการทดสอบย่อย ขั้นนี้เป็นการประเมินความรู้ ความเข้าใจในบทเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 7) ขั้นการคิดคะแนนความก้าวหน้า นักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้าทั้งรายบุคคลและคะแนนความก้าวหน้าของกลุ่มเพิ่มขึ้น 8) ขั้นการคิดคะแนนกลุ่มที่ได้รับการยกย่อง พบว่ามีจำนวนกลุ่มที่ได้รับการยกย่องเพิ่มมากขึ้น ด้านพฤติกรรมของนักเรียนก่อให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้แก่ ทักษะการทำงานกลุ่ม การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความสามัคคี ความรับผิดชอบ ความมั่นใจและตระหนักในคุณค่าของตนเอง ส่วนผลการทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการทั้ง 4 วงจร นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 82.40 และผ่านเกณฑ์เฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 84.38
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 84.48 และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 85.42 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ( = 4.37, S.D = 0.59)
01 เม.ย. 2557 เวลา 12:00 น. 0 1,661
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^