การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึ
สู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตุงลอย อำเภออมก๋อย
จังหวัดเชียงใหม่
ผู้รายงาน นายประภวิษณุ์ อาษากิจ
ปีที่ศึกษา 2555
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตุงลอย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการขับเคลื่อน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตุงลอย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยสนับสนุน ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ครูผู้สอนที่สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 12 คน และ คณะกรรมการสถานศึกษา ปีการศึกษา 2555 จำนวน 13 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 158 คน รวมจำนวนทั้งหมด 183 คน เครื่องมือในการประเมินโครงการในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สำหรับ ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใน 3 ระยะ คือ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และ สิ้นสุดโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 3 ฉบับ คือ แบบสอบถามฉบับที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ แบบสอบถามฉบับที่ 2 ระหว่างการดำเนินการ และแบบสอบถามฉบับที่ 3 สิ้นสุดโครงการ แบบสัมภาษณ์นักเรียน จำนวน 3 ฉบับ คือ แบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ แบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 2 ระหว่างดำเนินโครงการ และแบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 3 สิ้นสุดโครงการ
เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และเมื่อสิ้นสุดโครงการ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และข้อมูล จากแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนา ผลการประเมินสรุป อภิปรายผล และมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้
สรุปผลการประเมิน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตุงลอย แยกตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ความคิดเห็นของนักเรียน โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านสภาพบริบท ด้านปัจจัยสนับสนุน ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตุงลอย ด้านสภาพบริบท พบว่า ด้านสภาพบริบทในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 มากที่สุด รองลงมา คือ โครงการมีความเหมาะสม กับสภาพบริบทของโรงเรียน และอันดับสุดท้าย คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้อง กับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
2. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตุงลอย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ด้านปัจจัยสนับสนุน พบว่า ด้านปัจจัยสนับสนุนภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า มีนโยบายน้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษาและบูรณาการในแผนปฏิบัติงานประจำปีมากที่สุด รองลงมา คือ มีแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนที่สนับสนุนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ลำดับสุดท้าย คือ มีหลักสูตร เศรษฐกิจพอเพียง
3. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตุงลอย ด้านกระบวนการ
3.1 ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตุงลอย ด้านกระบวนการในขั้นการวางแผน พบว่า การวางแผน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อรายการ พบว่า การศึกษาสภาพปัญหา และ ความต้องการในการดำเนินโครงการมากที่สุด รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการวางแผน การดำเนินงานตามโครงการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และอันดับสุดท้าย คือ การจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการจัดทำโครงการ
3.2 ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านตุงลอย ด้านกระบวนการในขั้นการดำเนินงานตามแผน พบว่า การดำเนินงาน ตามแผนอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละข้อรายการ พบว่า มีการดำเนินงานโครงการ ตามแผนที่กำหนดไว้มากที่สุด รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมโครงงานคุณธรรม และอันดับสุดท้าย คือ การดำเนินกิจกรรมภูมิปัญญาทอผ้ากะเหรี่ยง
3.3 ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านตุงลอย ด้านกระบวนการในขั้นการนิเทศและติดตามผล พบว่า การนิเทศและติดตามผลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อรายการ พบว่า แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการมากที่สุด รองลงมา คือ การกำหนดปฏิทินการนิเทศ ติดตามการดำเนินงานตามโครงการ และอันดับสุดท้าย คือ การจัดระบบนิเทศ กำกับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
3.4 ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนบ้านตุงลอย ด้านกระบวนการในขั้นปรับปรุงและพัฒนา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละข้อรายการ พบว่า การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง มากที่สุด รองลงมา คือ การนำผลการนิเทศ กำกับติดตามมาใช้ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินกิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่อง และอันดับสุดท้าย คือ การประชุมวางแผนเพื่อปรับปรุงและพัฒนางาน
4. ผลการประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตุงลอย ด้านผลผลิต พบว่า ด้านผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา แต่ละข้อรายการ พบว่า โรงเรียนพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ นักเรียนสามารถ นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และอันดับสุดท้าย คือ นักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดี มีความสุภาพ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ส่วนด้านผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินโครงการ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา แต่ละข้อรายการ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อรายการ คือ ความพึงพอใจต่อกิจกรรมต่างๆ ของโครงการมากที่สุด รองลงมา คือ ความพึงพอใจที่มีต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และอันดับสุดท้าย คือ ความพึงพอใจที่มีต่อผลการดำเนินงานโครงการ
[/left][/left]