รายงานการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุด “งานประดิษฐ์วัสดุและเศษวั
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อผู้รายงาน : นางสาวพรนารายณ์ ต้นสมบูรณ์
สถานที่ทำงาน : โรงเรียนบ้านหนองมะค่า อำเภอปากช่อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4
ปีการศึกษา : 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนชุด “งานประดิษฐ์วัสดุและเศษวัสดุ”กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุด “งานประดิษฐ์วัสดุและเศษวัสดุ” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนชุด “งานประดิษฐ์วัสดุและเศษวัสดุ” 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนชุด “งานประดิษฐ์วัสดุและเศษวัสดุ” กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนบ้านหนองมะค่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราสีมา เขต 4 กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จำนวน 10 แผน เอกสารประกอบการเรียนชุด“งานประดิษฐ์วัสดุและเศษวัสดุ”จำนวน10 เรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองมะค่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน แบบทดสอบย่อยก่อนและหลังเรียนเอกสารประกอบการเรียนชุด”วานประดิษฐ์วัสดุและดิษฐ์วัสดุ แบบฝึกหัดระหว่างเรียนเอกสารประกอบการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ และเกี่ยวกับเอกสารประกอบการเรียนสำหรับผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการศึกษา คือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการศึกษา พบว่า 1) เอกสารประกอบการเรียนชุด “งานประดิษฐ์วัสดุและเศษวัสดุ” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 81.56/81.37 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนชุด “งานประดิษฐ์วัสดุและเศษวัสดุ”สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเรียนของนักเรียนมีความก้าวหน้าร้อยละ 30.67 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียนชุด “งานประดิษฐ์วัสดุและเศษวัสดุ” ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับดี ( X บาร์ =4.56,S.D.=0.71)