การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมว
ที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้วิจัย นางอุทัย ไข่มุกข์
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) สร้างและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3)ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4) ประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 บ้านปากน้ำ (พิธานอุทิศ) จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ทักษะทางภาษา แบบทดสอบวัดความสามารถทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันที่เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยศึกษาสภาพปัญหาของครูผู้สอนเด็กปฐมวัย มีความคิดเห็นตรงกันว่าควรมีการพัฒนาทักษะทางภาษาให้แก่เด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากเด็กปฐมวัยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นเป็นภาษาแม่ มีวัฒนธรรมทางภาษาที่แตกต่างจากสังคมไทยทั่วไปจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้การเรียนรู้ของเด็กนั้นไม่เข้าใจเกิดปัญหาไม่ว่า จะเป็นปัญหาทางภาษา หรือแม้แต่กระบวนการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย ที่ไม่สามารถจัดการเรียนรู้ให้เด็กเข้าใจได้ ดังนั้นการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้เป็นการช่วยในการพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดี
2. การหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.90/83.48
3. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน พบว่า เด็กปฐมวัยมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย มีค่าเท่ากับ 14.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 1.68 คะแนนหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 17.61 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.77 แสดงให้เห็นว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่ใช้ภาษามลายูท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด