รายงานการสร้างและพัฒนาหนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อ
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อเตรียม
ความพร้อมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมการทดลอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 7 เล่ม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมการทดลอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโฮ่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมการทดลอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนบ้านโฮ่ง อำเภอเวียงป่าเป้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 11 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) เพื่อเตรียมความพร้อมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมการทดลอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการใช้นวัตกรรม จำนวน 21 แผน 3) แบบประเมินทักษะทางวิทยาศาสตร์ แบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมความพึงพอใจของเด็กที่มีต่อนวัตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. หนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมการทดลอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 7 เล่ม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ทุกเล่ม
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมการทดลอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 7 เล่ม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ เพื่อเตรียมความพร้อมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ด้วยกิจกรรมการทดลอง ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 7 เล่ม โรงเรียนบ้านโฮ่ง อำเภอเวียงป่าเป้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 11 คน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.65 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37