รายงานการใช้หนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำ
ผู้ศึกษา : นางพูลสุข ส้มเพ็ชร
ปีการศึกษา : ปีการศึกษา 2555
[center]บทคัดย่อ [/center]
รายงานผลการใช้หนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ฯ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการวิเคราะห์ก่อนเรียน และหลังเรียนที่เรียนด้วยหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ฯ (3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ (4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ หลังจากเรียนไปแล้ว 30 วัน และ(5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.1 โรงเรียนวัดโบสถ์ อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ฯ จำนวน 6 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t- test และค่าร้อยละของความคงทนในการเรียนรู้ ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ 82.66/82.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการคิดวิเคราะห์ ที่เรียนด้วยหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ฯ โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของหนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ฯ มีค่าเท่ากับ 0.6455 นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนด้วยคู่มือฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 64.55
4. ผลการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ หลังจากเรียนไปแล้ว 30 วัน มีความคงทน ในการเรียนรู้ร้อยละ 85.42
5. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือการ์ตูนวิทยาศาสตร์ฯ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( X-bar = 4.49, S.D.= 0.28)
ตัวอย่างงานนวัตกรรม คลิ๊กที่นี่ >>>