การพัฒนารูปแบบการบริหารภายใต้ทฤษฎีการกระทำเชิงเหตุผลเพื่อส่งเสริ
ชื่อผู้วิจัย นางอุษณิษา ภาคยานุวัติ
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารภายใต้ทฤษฎีการกระทำเชิงเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง)
2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารภายใต้ทฤษฎีการกระทำเชิงเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ครูและนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) ในปีการศึกษา 2558 จำแนกเป็นครูกลุ่มอ้างอิง จำนวน 7 คน ครูผู้สอน จำนวน 14 คน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 จำนวน 181 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบประเมินและประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการบริหารภายใต้ทฤษฎีการกระทำเชิงเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู มีชื่อว่า P2BDIAR Model ประกอบด้วยหลักการคือ การบริหารงานวิชาการโดยเน้นการสร้างเจตคติและบุคคลกลุ่มอ้างอิงให้คล้อยตามในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ครูมีสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน และส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูและยกระดับคุณภาพผู้เรียน กระบวนการบริหาร 7 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นตอนที่ 2 สร้างเจตคติ (Build the Attitude) ขั้นตอนที่ 3 สร้างกลุ่มอ้างอิง (Build the Reference Group) ขั้นตอนที่ 4 การตัดสินใจ (Decision Making) ขั้นตอนที่ 5 ศึกษาความรู้ (Information) ขั้นตอนที่ 6 ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Action Research) และขั้นตอนที่ 7 การยกย่องชมเชย (Recognition) โดยมีเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ 1) ครูมีเจตคติที่ดีต่อการวิจัยในชั้นเรียน 2) ครูกลุ่มอ้างอิงจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียน และเป็นบุคคลที่ครูมีความเชื่อมั่นศรัทธาทั้งด้านความรู้ความสามารถในการวิจัยใน ชั้นเรียนและด้านการปฏิบัติตนในลักษณะที่มีความเป็นกัลยาณมิตรสูง 3) ผู้บริหารจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมครูกลุ่มอ้างอิงในด้านการกระจายอำนาจในการบริหาร การส่งเสริมให้มีความรู้ ความสามารถให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง และให้ขวัญกำลังใจทั้งในระหว่างดำเนินการและหลังดำเนินการ
2) ผลการใช้รูปแบบการบริหารภายใต้ทฤษฎีการกระทำเชิงเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู พบว่าสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูหลังการใช้รูปแบบการบริหารภายใต้ทฤษฎีการกระทำเชิงเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูอยู่ในระดับสูง ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารภายใต้ทฤษฎีการกระทำเชิงเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูอยู่ในระดับมากที่สุด ครูกลุ่มอ้างอิงมีความพึงพอใจต่อรูปแบบ การบริหารภายใต้ทฤษฎีการกระทำเชิงเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูในระดับมาก และนักเรียนมีผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารภายใต้ทฤษฎีการกระทำเชิงเหตุผลเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการใช้รูปแบบการบริหาร นักเรียนมีผลการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหาร