รายงานการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยม
สถานที่ศึกษา โรงเรียนชนบทศึกษา อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
ชื่อผู้ศึกษา นายประมวล สุขสนิท
ปีที่ศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชนบทศึกษา อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ที่เรียน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค 32101 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 212 คน
กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1โรงเรียนชนบทศึกษา อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 ชุด 2) แผนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 7 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent Sample Group
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5พบว่า โดยรวม E1 / E2 = 82.56/83.65 เมื่อพิจารณาเป็นรายชุดพบว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 1 – 4 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 และประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 1 เรื่อง กฏเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.12/83.33 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 2 เรื่อง การทดลองสุ่มและแซมเปิลสเปซ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.60/82.86 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 3 เรื่อง เหตุการณ์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.43/82.86 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ชุดที่ 4 เรื่อง ความน่าจะเป็น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.48/83.10
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มากที่สุด คือ เข้าใจบทเรียนมากยิ่งขึ้น ส่วนข้อความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 น้อยที่สุด คือ เกิดการเรียนรู้อย่างสนุกสนานและมีความสุข