การพัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เร
เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
ผู้วิจัย นางเตือนใจ พรสวรรค์อำไพ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร (3) ศึกษาความคิดเห็นทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลกุสุมาลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร จำนวน 6 หน่วย คือ หน่วยประสบการณ์ที่ 4 การเขียนบัตรอวยพรวันขึ้นปีใหม่หน่วยประสบการณ์ที่ 5 การเขียนโฆษณา หน่วยประสบการณ์ที่ 6 การเขียนประกาศ หน่วยประสบการณ์ที่ 7 การเขียนแผนภาพความคิด หน่วยประสบการณ์ที่ 8 การเขียนสมุดบันทึกประจำวัน หน่วยประสบการณ์ที่ 9 การเขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาประสิทธิภาพด้วยค่า E1/E2 ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้นทั้ง 6 หน่วยประสบการณ์มีประสิทธิภาพ 82.00/81.33, 82.11/81.67,81.89/81.50,
82.33/81.83, 82.56/82.17 และ 82.78/82.33 ตามลำดับเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์มีความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก