รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมฯ
สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านปากห้วย ปีการศึกษา 2558
ผู้ประเมิน นางสาววีรยา ขำวิชา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปากห้วย
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านปากห้วย อำเภอเมืองตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 1
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2558
บทสรุปของผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านปากห้วย ปีการศึกษา 2558 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 33 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และศึกษาจากประชากรครู จำนวน 6 คน ประชากรผู้ปกครอง จำนวน 44 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.872 - 0.972 และผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS V.16
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านปากห้วย ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มผู้ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยภาพรวมและรายตัวชี้วัดที่ประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านปากห้วย ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยภาพรวมและรายตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านปากห้วย ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง พบว่า โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งโดยภาพรวมและรายตัวชี้วัดที่ประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ มีผลการประเมินดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน ในการดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านปากห้วย ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูตามโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านปากห้วย ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง พบว่า โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านปากห้วย ปีการศึกษา 2558 มีผลการประเมินด้านคุณภาพผู้เรียนทุกมาตรฐาน ในระดับดีขึ้นไป ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 สรุปผลการวิเคราะห์ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนบ้านปากห้วย ปีการศึกษา 2558 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมพบว่าทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอในอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์ หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. โรงเรียนควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่างๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3. ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรศึกษารูปแบบหรือแนวทางในการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนที่นอกเหนือจากรูปแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) เพื่อเปรียบเทียบผลการประเมิน
2. ควรมีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน ตามบริบทสภาพของโรงเรียนที่แตกต่างกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาการดำเนินงานตามโครงการต่อไป