การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นของเร
สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นางประดับ เทตวงค์
สถานที่ โรงเรียนบ้านห้วยน้ำไซ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาไทย
ชุด ท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำไซสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 จำนวน 23 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสือส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบย่อยก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาไทย เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 9 ชุด ๆ ละ 10 ข้อและแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย
( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) ค่าร้อยละและค่า t (Dependent Samples t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1) หนังสือส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่าม้งโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.07/87.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้
2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ออกเสียงภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านออกเสียงภาษาไทย ชุด ท้องถิ่นของเรา สำหรับนักเรียนชาวเขาเผ่าม้ง โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด