เผยแพร่ผลงาน การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั
ผู้ศึกษา นายจิรัฎฐ์ หัสสา
สังกัด โรงเรียนราชประชานุเคราะ 14สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกกลวิธีการอ่านเพื่อการสื่อสารตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 จากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2)ศึกษา
และเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยแบบฝึกกลวิธีการอ่านเพื่อการสื่อสารก่อนเรียนและหลังเรียน 3)ศึกษาเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยแบบฝึกกลวิธีการอ่านเพื่อการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์14 ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองจังหวัดหนองคาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง และแบบแผนการการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกกลวิธีการอ่านเพื่อการสื่อสาร จำนวน 24 หน่วยการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 24 แผนแบบวัดความสามารถใน
การอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษ โดยดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาในระยะเวลา 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 8 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 24 ชั่วโมง ซึ่งใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกกลวิธีการอ่านเพื่อการสื่อสารมีค่าเท่ากับ81.03/82.00ซึ่งถือว่าแบบฝึกกลวิธีการอ่านเพื่อการสื่อสารอยู่ในระดับดี ซึ่งสูงกว่าเกณฑที่ตั้งไว้ 80/80
2. นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนเรียนเฉลี่ยร้อยละ53.56และหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 82.00 เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกกลวิธีการอ่านเพื่อการสื่อสารของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกกลวิธีการอ่านเพื่อการสื่อสารโดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 84.00 ค่าเฉลี่ย=4.20 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.79 พบว่า นักเรียนมีเจตคติอยู่ในระดับค่อนข้างดีต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกกลวิธีการอ่านเพื่อการสื่อสาร
TheStudy Title The Development of English Readinging Ability of Mathayomsuksa 5 Students Using Communicative Reading Strategy Exercise
Author Mr.Jirath Hassa
School Rajaprachanukhor 14 School under Nongkhai Primary Educational Service Area office 1, Office of the Basic Education Commission
of Thailand, Educational Ministry
Department The Department of Foreign Language (English)
Academic Year 2013
ABSTRACT
The purposes of this research were: 1)to develop and test the efficiency of communicative reading strategy exercisefrom Mathayomsuksa 5 students following the criteria: 80/80. 2) to study and compare the English reading ability of Mathayomsuksa 5 students before and after learning using communicative reading strategy exercise, and 3) to study the students’ attitude towards teaching English reading using communicative reading strategy exercise.The sample group consisted of 30 Mathayomsuksa 5 students by purposive selection at Rajaprachanukhor 14 School, Khaibokwan Sub-district, Muang District, Nongkhai Province, under Nongkhai Primary Educational Service Area office 1, in the second semester of the academic year 2013. The study methodology was a one group pretest-posttest design.The research instruments were 24 modules from communicative reading strategy exercise, 24 lesson plans, an English reading ability test and an attitude-evaluation form. The experiment lasted 3 weeks, 8 hours a week, or 24 hours in total. The mean, percentage, standard deviation
and t-test for Dependent samples were employed to analyze the data.The findings of this research were as follows:
1. The efficiency of the material was 81.03 for the English formative test and 82.00 for the posttest. Therefore, communicative reading strategy exercisewas highly effective.
2. The pretest mean score was 53.56percent and the posttest mean score was 82.00percent. The English reading abilities of Mathayomsuksa 5 students after learning using communicative reading strategy exercisewere significantly higher than prior at the .01 level.
3. The students’ attitude towards teaching English speaking using the compensatory communication strategies were at a good level.