การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้ศึกษา นายเชาวลิต สาตร์นอก
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 45 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ( Cluster Random Sampling) โดยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 9 แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.22-0.67 และระดับความยาก (P) ตั้งแต่ 0.21-0.74 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
การวิเคราะห์ข้อมูล การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 คำนวณจากสูตร E1 / E2 , หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ (E.I.) คำนวณ ตามวิธีของxxxดแมน,เฟลทเชอร์และชไนเดอร์ , การวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมุติฐานใช้ t – test
ผลการศึกษา พบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.91/84.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 0.6307 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 63.07
4. นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.53
โดยสรุป บทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง อาชีพ สู่อาเซียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้