การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไ
การวิจัยการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดฝึกทักษะ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านและเขียนสะกดคำยาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาคาร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำยาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาคาร ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอ่านและเขียนสะกดคำยากโดยใช้ชุดฝึกทักษะ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาคาร อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน 20 คน ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2556 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้รูปแบบการวิจัยที่มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One-Group Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 22 แผน 2) ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำยาก จำนวน 10 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนหลังเรียน จำนวน 18 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านและเขียนสะกดคำยาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาคาร มีประสิทธิภาพ 84.84/82.50 ซึ่ง สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำยาก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาคาร หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้ค่าสถิติ t (t-dependent) พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาคาร มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการอ่านและเขียนสะกดคำยากโดยใช้ชุดฝึกทักษะ ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.37 = 0.51)
เมื่อพิจารณาจัดเรียงลำดับความพึงพอใจของนักเรียน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยในแต่ละด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน ( = 4.56, = 0.49) รองลงมาคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนการสอน ( = 4.45, = 0.50) ด้านการวัดและประเมินผล ( = 4.42, = 0.47) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( = 4.28, = 0.62) และด้านเนื้อหา ( = 4.18, = 0.48) ตามลำดับ