การพัฒนาชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มสาระการเรี
ผู้วิจัย : นายชัยวัฒน์ ปานเกิดผล
กลุ่มสาระฯ : กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
สังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10
ปีการศึกษา : 1/2555
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนสมุทรสาครบูรณะ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ที่เลือกเรียนรายวิชาพลศึกษา 5 (พ 23102) เรื่อง เซปักตะกร้อ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ได้มาด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 50 คน เนื่องจากนักเรียนห้องนี้มีร้อยละของคะแนนเฉลี่ย จากผลการประเมินรายวิชาพลศึกษา 5 ในปีการศึกษาที่ผ่านมา มีค่าใกล้เคียงกับร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วย 1) การหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อด้วยการวิเคราะห์หาค่าที (t – test Dependent) และ 3) การวิเคราะห์หาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อด้วยการวิเคราะห์ค่าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.07/83.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะสูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกทักษะ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดฝึกทักษะพื้นฐานการเล่นกีฬาเซปักตะกร้อ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x= 4.08, S.D. = 0.87)