LASTEST NEWS

26 ธ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัคร สอบ ก.พ. ภาค ก e-Exam ประจำปี 2568 จำนวน 181,170 ที่นั่งสอบ เปิดระบบรับสมัครตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป - 28 มกราคม 2568 26 ธ.ค. 2567ก.ค.ศ.อนุมัติเลื่อนวิทยฐานะ "เชี่ยวชาญ" ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 8 ราย 26 ธ.ค. 2567สพม.ฉะเชิงเทรา ให้เขตอื่นขอใช้บัญชีฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 24 อัตรา เช็กรายละเอียดที่นี่ 25 ธ.ค. 2567ประกาศ สพฐ. เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะ ครั้งที่ 1 และมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ (ครั้งที่ 2) เพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป (ส่วนกลาง) 25 ธ.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 26 ธันวาคม 2567 25 ธ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.เชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 10 อัตรา รายงานตัว 6 มกราคม 2568 25 ธ.ค. 2567โรงเรียนพรตพิทยพยัต เปิดสอบครูอัตราจ้าง และลูกจ้างชั่วคราว 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 27 ธันวาคม 2567 23 ธ.ค. 2567ข่าวดี! โรงเรียนสวนกุหลาบฯ เพชรบูรณ์ ประกาศหยุดพิเศษ 2-3 ม.ค. 68 เปิดโอกาสใช้เวลาอบอุ่นกับครอบครัวช่วงปีใหม่ ยาว ๆ 9 วันเต็ม 23 ธ.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.อุบลราชธานี เขต 5 จำนวน 23 อัตรา - รายงานตัว 2 มกราคม 2568 23 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านหนองบัว รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 6,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 25 ธันวาคม 2567

ครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่น 5 สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง ลดเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล เตรียมบรรจุ 1,500 โรงเรียน

  • 27 ก.ย. 2566 เวลา 19:27 น.
  • 21,771
ครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่น 5 สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง ลดเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล เตรียมบรรจุ 1,500 โรงเรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่น 5 สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง ลดเหลื่อมล้ำในพื้นที่ห่างไกล เตรียมบรรจุ 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ลงนามความร่วมมือกับ 8 สถาบันผลิตและพัฒนาครู ในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 5 ปีการศึกษา 2567 โดยมีมหาวิทยาลัยภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ร่วมลงนาม

ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กล่าวว่า สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ มีโรงเรียน 29,466 แห่ง ดูแลนักเรียน 6,607,564 คน มีจำนวนครูในภาพรวม 467,115 คน คิดเป็นอัตราเฉลี่ยครูต่อห้องเรียนอยู่ที่ 1.38 คนต่อห้อง ในจำนวนดังกล่าวมีกลุ่มโรงเรียนที่เรียกว่า Protected Schools ซึ่งไม่สามารถควบรวมได้ เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารเช่นบนเขาหรือในเกาะแก่ง จำนวน 1,155 แห่ง มีนักเรียน 90,348 คน มีจำนวนครู 9,484 คน คิดเป็นอัตราเฉลี่ยครูต่อห้องเรียนอยู่ที่ 0.95 คนต่อห้อง ทำให้เกิดปัญหาครูไม่ครบชั้นหรือไม่ครบรายวิชา



เพื่อแก้โจทย์ปัญหาข้างต้น กสศ. ได้ร่วมกับ 5 หน่วยงาน ประกอบด้วยกระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ขับเคลื่อนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ตั้งแต่ปี 2562 ซึ่งปีการศึกษา 2567 จะเป็นปีแรกที่มีบัณฑิตครูรัก(ษ์)ถิ่น กลับไปเป็นครูในชุมชนของตนเอง ซึ่งโรงเรียนเหล่านั้นถือว่าเป็นความหวังเดียวของคนนับร้อยนับพันชีวิตในพื้นที่ ขณะที่ในทางกลับกัน โรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็กที่ห่างไกลเหล่านี้ต้องประสบกับปัญหาครูโยกย้ายบ่อย เนื่องจากครูที่ได้รับการบรรจุไม่ใช่คนในพื้นที่ ดังนั้นเมื่ออยู่ครบเกณฑ์ 2 ปี จึงมักทำเรื่องขอย้ายกลับไปยังภูมิลำเนาของตน โดยโรงเรียนเหล่านี้เอง ที่ กสศ. และหน่วยงานต้นสังกัดการศึกษา คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนปลายทางของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น เพราะปัญหาขาดแคลนครูเป็นเรื่องเร่งด่วน และจะปล่อยให้ดำเนินต่อไปอีกไม่ได้

ด้าน รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการบริหาร กสศ. และประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล กล่าวว่า  โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นมี แนวคิดสร้างครูของชุมชน เพื่อสร้างโอกาสให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ผ่านการสร้างครูรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพสูงให้กลับไปพัฒนาชุมชนของตนเอง ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาของการดำเนินงาน มีหลักฐานยืนยันว่าการผลิตและพัฒนาครูในระบบปิด สามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาในระดับพื้นที่ได้ด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนเฉพาะ ครูรัก(ษ์)ถิ่นเป็นโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการขนาดใหญ่ มีการติดตามต่อเนื่องหลังบรรจุเป็นเวลาอย่างน้อยรุ่นละ 6 ปี ดังนั้นผลการศึกษาวิจัยที่จะได้จากสถาบันผลิตและพัฒนาครู จะเป็นคานงัดสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบผลิตและพัฒนาครูเพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาด้านการศึกษาของประเทศ แม้ว่าการลงทุนในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นจะใช้ต้นทุนสูง แต่ถ้ามองถึงปลายทางว่าประเทศผลิตครูหนึ่งคนที่มีคุณภาพ และมีคุณสมบัติเฉพาะที่จะกลับไปพัฒนาชุมชนห่างไกล 1,500 แห่งทั่วประเทศ นับว่าคุ้มค่า เพราะจะมีนักเรียนและคนในชุมชนอีกเรือนแสนที่จะได้รับประโยชน์จากครูรุ่นใหม่ในโครงการนี้

ขณะที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่ปรึกษาโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น กล่าวว่า บุคคลสำคัญที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการศึกษา คือ ครู โดยเริ่มทำได้จากภายในห้องเรียน เพราะเราเห็นแล้วว่าวิธีการกำหนดกรอบเกณฑ์เดิมที่ทำจากบนลงล่าง หรือ Top-Down นั้น แม้จะมีแนวคิดหลักการหรือเจตนาที่ดีอย่างไร แต่ผลที่พิสูจน์แล้วได้แสดงให้เห็นว่าไม่เวิร์ก ฉะนั้นถ้าจะให้เวิร์ก การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากกลุ่มครูและโรงเรียน ด้วยการทำงานที่มีเป้าหมายตั้งต้นที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของศิษย์ ภายใต้คำถามว่าอยากจะให้ลูกศิษย์ได้อะไรติดตัวไปเมื่อจบการศึกษา หมายถึงกลุ่มครูต้องรวมกลุ่มกันเรียนรู้จากการปฏิบัติ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนกันผ่านกระบวนการ PLC: Professional Learning Community หรือชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อการออกแบบชั้นเรียนแล้วนำไปใช้ จากนั้นเก็บข้อมูลและตีความเพื่อปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แล้วการเรียนรู้จากประสบการณ์จะช่วยยกระดับการเรียนรู้ของศิษย์ให้เป็นไปตามเป้าหมายได้



สำหรับหลักสูตรการผลิตครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่นที่ 5 จะครอบคลุมสาขาวิชาปฐมวัย ประถมศึกษา และวิชาเอกคู่ (ปฐมวัย-ประถมศึกษา) 329 อัตรา ตอบโจทย์พื้นที่เป้าหมายโรงเรียนปลายทางใน 40 จังหวัด โดยแบ่งการทำงานเป็นสามระยะคือต้นน้ำ หรือ 6 เดือนแรกกับการลงพื้นที่ค้นหา คัดกรอง คัดเลือก นักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในรัศมีโรงเรียนปลายทางที่ระบุไว้ กลางน้ำคือนำนักศึกษาทุนเข้ารับการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรในระยะเวลา 4 ปี ส่วนปลายน้ำคือช่วงการสนับสนุนติดตาม และประเมินการปฏิบัติงานของครูรัก(ษ์)ถิ่นในโรงเรียนปลายทางอีก 6 ปี โดยหัวใจของการทำงานคือการดูแลนักศึกษาทุนที่แตกต่างหลากหลายด้วยต้นทุนและภูมิหลังของชีวิต สถาบันผลิตและพัฒนาครูจึงต้องมีการออกแบบการทำงานใหม่ร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารและคณาจารย์ในสถาบัน

ทั้งนี้ ในปี 2567 หรือปีการศึกษาหน้า จะเป็นปีแรกที่นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่นที่ 1 จบการศึกษาและได้รับการบรรจุเข้าปฏิบัติการในโรงเรียนปลายทาง ถือเป็นการเริ่มต้นของการทำงานในระยะสนับสนุนติดตาม และจากนั้นจะเป็นการถอดบทเรียนและขยายผล ขณะเดียวกัน กสศ. จะดำเนินการขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อให้โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่นสามารถเป็นต้นแบบของการผลิตและพัฒนาครูในโครงการอื่น ๆ และครอบคลุมไปถึงการผลิตและพัฒนาครูในสังกัดการศึกษาอื่น ๆ นอกเหนือจากโรงเรียนปลายทางในสังกัด สพฐ. ต่อไป

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: ข่าวออนไลน์7HD  วันที่ 27 ก.ย. 2566 
 
  • 27 ก.ย. 2566 เวลา 19:27 น.
  • 21,771

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^