LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

ตั้ง คกก.แก้ปัญหาผลิตครู พบบัณฑิตเฟ้อเกินต้องการ

  • 21 ต.ค. 2557 เวลา 19:34 น.
  • 2,221
ตั้ง คกก.แก้ปัญหาผลิตครู พบบัณฑิตเฟ้อเกินต้องการ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ตั้ง คกก.แก้ปัญหาผลิตครู พบบัณฑิตเฟ้อเกินต้องการ
 
   คนแห่เรียนครูมากขึ้น พบบัณฑิตเฟ้อเกินความต้องการของประเทศ กระทบคุณภาพภาพรวม ศธ. สั่ง สกศ. ตั้ง คกก.แก้ปัญหาและพัฒนาระบบการผลิตครูเป็นนโยบายให้ ครม. พิจารณา จ่อเสนอรายชื่อให้ รมว.ศธ. ลงนาม คาดประชุมนัดแรก 22 ต.ค. 
 
        วันนี้ (20 ต.ค.) นายพิษณุ ตุลสุข รองเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า การแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการผลิตครูนั้น สกศ. ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ให้ไปตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการผลิตครูที่มีคุณภาพ เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณานำไปใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาในภาพรวม ตนจึงได้เสนอชื่อผู้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้แทนจาก สกศ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ พิจารณา ลงนามแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ หากเห็นชอบคาดว่าจะเริ่มประชุมนัดแรกวันที่ 22 ต.ค.นี้ นอกจากนี้ จะเชิญ นายพินิติ รตะนานุกูล เลขาธิการ สกศ. และ นายอมรวิทย์ นาครทรรพ ผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ มาเป็นที่ปรึกษาด้วย
       
       นายพิษณุ กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมการผลิตครูนั้น จากข้อมูลของคุรุสภาพบว่า ปัจจุบันเด็กเก่งนิยมสมัครเรียนในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ มากขึ้น ส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยของเด็กที่สอบได้ในคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ สูงกว่าคณะวิทยาศาสตร์บางสาขา โดยเฉพาะสาขาคณิตศาสตร์ ดังนั้นเมื่อมีคนนิยมเรียนมาก ทำให้รับนักศึกษาต่อปีของสถาบันฝ่ายผลิตต่างๆ สูงตามไปด้วย โดยปีนี้อยู่ที่ประมาณ 50,000 คน จำนวนบัณฑิตที่จบครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แต่ละปีจึงมากเกินความต้องการ และไม่ตรงตามความต้องการของประเทศ รวมถึงความต้องการของผู้ใช้ กระทบถึงคุณภาพในภาพรวม 
       
       “หน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้คือจะต้องไปวิเคราะห์ถึงแนวทางการพัฒนาการผลิตครูทั้งระบบ ทั้งหลักสูตร ที่จะต้องสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ จำนวนรับนักศึกษา คุณภาพของสถาบันฝ่ายผลิต คุณภาพผู้เรียน ที่จะทำให้ระบบผลิตครูมีคุณภาพ สามารถผลิตครูเก่ง ดี มีจิตวิญญาณความเป็นครูมาสอนเด็กได้ เพราะถ้าเราได้ครูดี ก็จะได้นักเรียนที่ดี โตขึ้นมาเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศตามไปด้วย” รองเลขาธิการ สกศ. กล่าว
       
 
  • 21 ต.ค. 2557 เวลา 19:34 น.
  • 2,221

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : ตั้ง คกก.แก้ปัญหาผลิตครู พบบัณฑิตเฟ้อเกินต้องการ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^