แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่าน การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตั
ตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้รายงาน นางภาวิณี สุริจันทร์
สถานศึกษาที่สังกัด โรงเรียนบ้านห้วยข้าวลีบ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
ปีการศึกษา ๒๕๕๖
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่มีตัวสะกด ไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์เรื่องการอ่าน การเขียน คำที่มีตัวสะกด ไม่ตรงมาตราตัวสะกด หลังจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่มีตัวสะกด ไม่ตรงมาตราตัวสะกดโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๖ โรงเรียนบ้านห้วยข้าวลีบ ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔ จำนวน ๑๙ คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่าน การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๙ เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตอนที่ ๑ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิด ๓ ตัวเลือก จำนวน ๑๐ ข้อให้นักเรียนเลือกคำตอบ ข้อที่อ่านและเขียนคำที่ถูกต้องตอบถูกได้ข้อละ ๑ คะแนน ตอบผิดหรือไม่ตอบได้ ๐ คะแนน ตอนที่ ๒เป็นแบบปรนัยนัย จำนวน ๑๐ ข้อ ให้นักเรียนวงกลมข้อความที่กำหนดให้ในวงเล็บทำให้ประโยคที่ถูกต้อง เลือกถูกได้ข้อละ ๑ คะแนน เลือกผิด หรือไม่เลือกได้ ๐ คะแนน ตอนที่ ๓ เป็นแบบอัตนัย จำนวน ๑๐ ข้อ ให้นักเรียนเติมพยัญชนะตัวสะกดลงในช่องว่างและแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน ๑๑ แผน เวลา ๒๐ ชั่วโมงวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่าน การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จากสูตร E๑/E๒ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ และวิเคราะห์ความก้าวหน้า หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้สูตรร้อยละของความก้าวหน้า นำเสนอข้อมูลโดยการบรรยายประกอบตาราง
ผลการศึกษาพบว่า
๑. พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีค่า E๑/E๒ มีค่าเท่ากับ ๘๙.๑๒/๘๘.๗๗
๒. พบว่า แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่าน การเขียน คำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราตัวสะกดที่ใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ก่อนได้รับการสอนโดยใช้ แบบฝึก มีคะแนนก่อนเรียน ๓๖๐ คะแนน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๑๘.๙๔ ส่วนหลังการฝึกมีคะแนน ๕๐๖ คะแนน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๒๖.๖๓ คะแนนความก้าวหน้าเท่ากับ ๑๔๖ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๗.๖๘
แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนแบบฝึกเสริมทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เมื่อเปรียบเทียบความก้าวหน้าก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๖๒