การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในวิชาฟ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสรรพวิทยาคม จังหวัดตาก
ชื่อผู้ศึกษา : นายฐาปนะพงษ์ ทะนันชัย
ปีการศึกษา : 2556
[center]บทคัดย่อ[/center]
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาฟิสิกส์ 2(ว30202) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องเสียง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้องที่ 2 โรงเรียนสรรพวิทยาคม จังหวัดตาก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โดยการเลือกแบบเจาะจงเป็นรายห้อง(Purposive Sampling) จำนวน 46 คน เครื่องมือในการวิจัย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาฟิสิกส์ 2(ว 30202) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เสียง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์ 2(ว30202) เรื่อง เสียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
โดยใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง เสียง ซึ่งเป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ มีข้อความตามรายการ จำนวน 19 รายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาฟิสิกส์ 2 (ว 30202) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เสียง ที่ผู้วิจัยศึกษาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.25 / 83.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชาฟิสิกส์ 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (ว30202) เรื่อง เสียง ของนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 12.26 คะแนน และ 17.72 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รายวิชา ฟิสิกส์ 2 (ว30202) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เสียง ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏผล ดังต่อไปนี้ 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.55) 2) ด้านกระบวนการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.52) และ 3) ด้านผลผลิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.55)
>>>ดาวน์โหลดบทคัดย่อฉบับเต็ม ได้ที่ http://cloudbox.3bb.co.th/share/NzY2OXw5YzE2ZjY2MDY0NjBkMTU0Mzc1OWZjOTY2YjliYjc5N3wxMDM2NTg=