การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม
โดยใช้ TEAM Model ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills)
ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรารมย์
ผู้วิจัย นายสุริเยศ ถุงจันทร์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษาที่วิจัย โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 สพฐ.
สถานศึกษาปัจจุบัน โรงเรียนอนุบาลศรีประชานุxxxล ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 สพฐ.
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และ
การเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรารมย์
2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ TEAM Model
ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรารมย์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ TEAM Model ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรารมย์ และ
4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ TEAM Model ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรารมย์ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ปีการศึกษา 2564 ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 62 คน นักเรียน จำนวน 770 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ รูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ TEAM Model ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรารมย์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินผลการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ TEAM Model ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) และแบบประเมินทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรารมย์ เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางในการบริหารโรงเรียนสุขภาวะ พบว่า โรงเรียน
บ้านกันทรารมย์ ได้ดำเนินการตามแนวทางโรงเรียนสุขภาวะ ยังไม่มีรูปแบบ วิธีการบริหารจัดการ
ที่เป็นระบบ เป็นรูปธรรม ที่จะสามารถพัฒนาโรงเรียนในองค์รวม ซึ่งจะส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหาร นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงผู้ปกครองและชุมชนได้แสดงออกถึงความสุขอย่างแท้จริง
2. รูปแบบการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ TEAM Model ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนบ้านกันทรารมย์ ที่ผู้พัฒนาสังเคราะห์ขึ้น โดยอาศัยแนวคิดสำคัญ คือ 1) แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อให้ทั้ง 3 ฝ่ายร่วมสร้างแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะ (School Improvement Plan : SIP) 2) แนวคิดเชิงระบบ เพื่อออกแบบกระบวนการทำงานในโรงเรียนให้เกิดความยั่งยืน และ 3) การเรียนรู้การทำงานเป็นทีมโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการบริหารจัดการ และ 5) การวัดและประเมินผล ทั้งนี้กระบวนการบริหารจัดการใช้ Team Model ภายใต้วงจรคุณภาพ PDCA ประกอบด้วย 4.1 T คือ Teamwork เป็นการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจในระบบทีม ทั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน และกำหนดผลสำเร็จร่วมกัน ตามแผนพัฒนาโรงเรียน (School Improvement Plan: SIP) 4.2 E คือ Environment โรงเรียนจัดการสิ่งแวดล้อมให้โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความสุข และมีสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ในโรงเรียนให้เกิดความยั่งยืน 4.3 A คือ Active Learning นักเรียนได้ลงมือทำผ่านกระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - Based Learning: PBL) และจิตศึกษา ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยโรงเรียนเป็นเวทีการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะชีวิตมีสุขภาวะผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Leaning Community: PLC) 4.4 M คือ Management การบริหารจัดการให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ามามีนส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่สร้างสุขภาวะให้กับผู้เรียน สร้างโรงเรียนแห่งความสุขด้วยความร่วมมือและประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Development and Management: SBM) มีผลการประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ TEAM Model ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรารมย์
3.1 ผลการประเมินการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้
TEAM Model ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
3.2 ผลการประเมินทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกันทรารมย์ ในภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนสุขภาวะด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมโดยใช้ TEAM Model ผ่านการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โรงเรียนบ้านกันทรารมย์
ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด