เผยแพร่ผลงาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวอารีรัตน์ แย้มยิ้ม
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (2) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3) ประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ (3.1) พัฒนาการด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3.2) ผลสัมฤทฺธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษ
ที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3.3) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3.4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา R&D (Research and Development) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยออกแบบการวิจัยเป็นแบบ (Embedded Design) ใช้วิธีการเชิงปริมาณเป็นหลักและวิธีการเชิงคุณภาพเป็นรองและใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวมีการทดสอบก่อนเรียนระหว่างเรียนและหลังเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ การทดสอบที (t-test dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน
ในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (POPAE Model)
มีองค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ (1) ขั้นเตรียมความพร้อมและกระตุ้นความใฝ่เรียนรู้ (Prepare and stimulate the desire to learn : P) (2) ขั้นสังเกตและพิจารณาแหล่งข้อมูล (Observe and consider sources of information : O) (3)
ขั้นดำเนินการตามทางเลือก (Procedure : P) (4) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply : A) (5) ขั้นประเมินผล (Evaluate : E) 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนรู้: ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน 6) การวัดและประเมินผล
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (POPAE Model) พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้น ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.28/85.43 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่าง
มีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5
3.1 หลังการเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (POPAE Model) นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีพัฒนาการสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีพัฒนาการสูงขึ้นโดยระยะก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 34.53 ระยะระหว่างเรียนคิดเป็นร้อยละ 83.28 และระยะหลังเรียนพัฒนาสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 85.43
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดย
ใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 ค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7756 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 77.56
3.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้
แบบฝึกทักษะ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 รายวิชาภาษาไทย ท32102
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด