LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางค

usericon

ชื่อเรื่อง    : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของ
         นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร
ผู้วิจัย        : เสาวเพ็ญ บุญประสพ
ปีที่วิจัย     : 2565

บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 116 คน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 20 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบสอบถามคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในด้านการวางแผนจัดการเรียนรู้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การบริหารจัดการชั้นเรียน และการวัดและประเมินผู้เรียน โดยรวมทั้ง 4 ด้านข้อมูลการปฏิบัติในระดับมาก ส่วนข้อเสนอแนะ อื่น ๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ไม่เครียดเกินไป มีเกมให้เล่น มีสื่อที่ดึงดูดความสนใจ ครูผู้สอนไม่ควรเน้นแผนการจัดการเรียนรู้ มากเกินไป ควรจัดการเรียนรู้แบบไม่มุ่งผลสัมฤทธิ์ บูรณาการการเรียนรู้คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวันให้มากกว่านี้ ปัญหาของการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ผู้เรียนส่วนใหญ่อธิบายว่าเรียนไม่ค่อยสนุก ไม่มีกิจกรรมนอกชั้นเรียน โดยครูจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในรูปแบบเดิม 3 ขั้น คือ ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป ครูทุกคนจึงต้องพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ขึ้นมาใช้เอง
    2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย
        2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ แบบ 4SAR Model มี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สร้างความเข้าใจในสถานการณ์ ขั้นที่ 2 กำหนดแบบแผนการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 คัดสรรวิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นที่ 5 ประเมินผลและประยุกต์ใช้ และขั้นที่ 6 สะท้อนการเรียนรู้และเชื่อมโยง และ 4) ปัจจัยสนับสนุนขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 4 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ครู ผู้เรียนร่วมสร้างองค์ความรู้ ปัจจัยที่ 2 บูรณาการเนื้อหากับสื่อเทคโนโลยีผนวกวิธีสอน (TPACK) ปัจจัยที่ 3 บริหารจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ และปัจจัยที่ 4 เชื่อมโยงสถานการณ์และบริบทชีวิตจริง
        2.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบ “4SAR Model” โดยรวมทั้ง 4 องค์ประกอบมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.65)
    3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
        3.1 ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมมีระดับพฤติกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับความสนใจและความคาดหวัง ความกระตือรือร้นและการตอบสนอง การมีส่วนร่วมและการนำไปใช้ ในระดับมาก ( = 3.91, S.D. = 0.57)
        3.2 ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมมีความสามารถในการแก้ปัญหาในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.72)
    4. การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
        4.1 คุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมทั้ง 4 องค์ประกอบมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.32, S.D. = 0.62)
        4.2 ความพึงพอใจของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ โดยรวมมีความพึงพอใจเกี่ยวกับประโยชน์ต่อการเรียนรู้ในชั้นเรียน และการนำไปใช้ในสถานการณ์จริงในระดับมาก ( = 4.27, S.D. = 0.62)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^