LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism

usericon

เรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย    นางรัชนี ภูลสวัสดิ์

ปีที่วิจัย    2564

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1)ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.2) ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ E1/E2
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
    1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
    2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อเรียกว่า ESQSRE Model มี 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. หลักการ
2. วัตถุประสงค์ 3. กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ดังนี้ 3.1 ขั้นกระตุ้นให้คิดและเชื่อมโยงความรู้เดิม (Engagement) 3.2 ขั้นฝึกอ่านด้วยตนเอง (Self-Reading) 3.3 ขั้นตั้งคำถาม (Questioning) 3.4 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share Ideas) 3.5 ขั้นทบทวนสรุป (Review and Summary)
3.6 ขั้นประเมินผล (Evaluation) 4. ระบบสังคม 5. ระบบสนับสนุน และ 6. หลักการตอบสนอง
    3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
        3.1 การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.05/82.07
        3.2 การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    4. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามทฤษฎี Constructivism ร่วมกับกลวิธี QAR เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ , การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ,
ทฤษฎี Constructivism, กลวิธี QAR

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^