LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

รายงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ

usericon

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    รายงานผลโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านแม่ทะลุในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของซิปโมเดล(CIPP Model) และเพิ่มความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ที่มีต่อโครงการนี้ ประชากรที่ใช้ในการรายงานผลได้แก่ ครูจำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -6 จำนวน 29 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คนรวมทั้งหมด 70 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบศึกษาเอกสารและแบบสอบถามโดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลโดยตารางประกอบคำอธิบายและการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงบรรยาย

ผลการรายงานผลสรุปได้ ดังนี้
    1. ด้านบริบทของโครงการ จากการศึกษาเอกสารพบว่าทั้งนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 และนโยบายของโรงเรียนบ้านแม่ทะลุ ได้กล่าวถึงนโยบายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสิ้น เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีระดับการประเมินสูงสุดคือ โครงการมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของชุมชน รองลงมาคือ ผู้บริหารและครูมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการโครงการ และโครงการมีความสอดคล้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนและสังคม ตามลำดับ ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่นช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนในการดำเนินการตามโครงการ
    2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่มีผลการการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำและให้การส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการโครงการเกษตรสู่ชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง และผู้บริหารโรงเรียนมีความมุ่งมั่นให้โครงการประสบความสำเร็จ รองลงไปได้แก่ ผู้บริหารมีการกำหนดภาระงานแก่ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมและผู้บริหารมีความรู้ด้านการบริหารจัดการโครงการเกษตรสู่วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีวัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินการโครงการเพียงพอ
3. ด้านกระบวนการของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีรายการที่ผลการประเมินอยู่ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการวางแผนเตรียมการก่อนดำเนินการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสม รองลงไป ได้แก่ มีการนำผลการประเมินผลไปปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป และผู้บริหารมอบหมายงานมีคำสั่งแต่งตั้งบุคลากรรับผิดชอบการดำเนินการแต่ละกิจกรรมของโครงการ ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมในโครงการด้วยความใส่ใจและมีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ด้านผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สภาพแวดล้อมโรงเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่หลากหลาย นักเรียนสามารถปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้ และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนมีการพัฒนาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้แก่ครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
5. ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมแต่ละกิจกรรมของโครงการเมื่อสรุปรายงานโครงการเกษตรตามแนวของเศรษฐกิจพอเพียงสู่อาหารกลางวันโรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน เป็นรายกิจกรรมได้ดังนี้
5.1 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว เมื่อสรุปรายงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผลการดำเนินการของกิจกรรมหลังเสร็จสิ้นโครงการ สถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ คือ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม และการดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ มีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม และการดำเนินกิจกรรมนี้ควรดำเนินการต่อไป ซึ่งทั้งสองข้อผลการประเมินอยู่ในระดับมากเท่ากัน
5.2 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการการทำนา เมื่อสรุปรายงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานที่สำหรับดำเนินการของกิจกรรม ครูผู้รับผิดชอบส่วนร่วมในการดำเนินการของกิจกรรมในโครงการ และครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมในการปฏิบัติงานด้านการจัดการเรียนรู้สูงขึ้น ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม
5.3 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการเลี้ยงปลากินพืช เมื่อสรุปรายงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ (ณ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม) ,ครูผู้รับผิดชอบส่วนร่วมในการดำเนินการของกิจกรรมในโครงการ และการดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนมีความรู้และทักษะในกิจกรรมนั้นๆรวมทั้งสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่อบุคลากรและหน่วยงานอื่น
5.4 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อกิจกรรมการเพาะเห็ด เมื่อสรุปรายงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ โดยครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา และสถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้(ณ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม) , ระยะเวลาในการดำเนินการของกิจกรรม และมีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ประกอบกิจกรรม ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ นักเรียนมีความรู้และทักษะในกิจกรรมนั้นๆรวมทั้งสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานที่เกิดจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่อบุคลากรและหน่วยงานอื่น

สรุปในภาพรวมทั้ง 4 กิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับการประเมินมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมการเพาะเห็ด กิจกรรมการเลี้ยงปลากินพืช และกิจกรรมการทำนาตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว และเมื่อพิจารณาภาพรวมกิจกรรมทั้งหมดเป็นรายข้อ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าส่วนใหญ่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือสถานที่สำหรับการศึกษาดูงานหรือทัศนศึกษาก่อนดำเนินการของกิจกรรมในโครงการนี้ ณ โรงเรียนสบเมยวิทยาคม การดำเนินงานกิจกรรมด้านการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนสำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลา และนักเรียนสามารถนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน (µ= 4.52) ตามลำดับ และส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ วิธีการดำเนินกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้
จากการรายงานผลโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านแม่ทะลุ พบว่า ด้านบริบทสอดคล้องเหมาะสม และเป็นไปได้ ด้านปัจจัยพอเพียงและเหมาะสม ด้านกระบวนการพบว่าดำเนินงานโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ ด้านผลผลิตมีประสิทธิผล สมควรดำเนินการโครงการต่อไป ด้านผลสะท้อนความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ได้รับความไว้วางใจ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในโครงการโดยมีข้อเสนอแนะในการปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานโครงการเกษตรพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ทะลุ ดังต่อไปนี้
         1.1 โรงเรียนควรมีการวางแผนการบริหาร และการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพราะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน นักเรียนและชุมชน
         1.2 ควรจัดงบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความคล่องตัว สมควรที่โรงเรียนต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
         1.3 การจัดกิจกรรมตามโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม ควรมีการปฏิบัติงานที่มีความยึดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา
         1.4 การดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้บริหารจะต้องเป็นแกนหลักในการบริหารและดำเนินการร่วมกับแกนนำอื่นๆเพื่อช่วยผลักดัน ส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานให้บุคลากรภายในสถานศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายนอกร่วมกันทำงานเป็นหมู่คณะ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากรทุกฝ่าย
    2. ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป
         2.1 การดำเนินโครงการที่สำคัญของโรงเรียนบ้านแม่ทะลุ ควรได้รับการประเมินทุกโครงการ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีและดำเนินการทุกๆปี
         2.2 ควรนำผลการประเมินของโรงเรียนไปเปรียบเทียบกับผลการประเมินของโรงเรียนอื่นที่ทำโครงการเดียวกันนี้ที่มีสภาพบริบททั่วไปของโรงเรียนใกล้เคียงกันเพื่อพัฒนาโครงการให้มีคุณภาพต่อไป
         2.3 ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานโครงการต่างๆตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
         2.4 ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชน ต้องมาสนับสนุน ร่วมมือพัฒนา ระดมทรัพยากร เพื่อให้มีความยั้งยื่น เจริญก้าวหน้าของโครงการตลอดไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^