รายงานการประเมินโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้รายงาน นางสาววิลาสิณี ทองสมนึก
หน่วยงาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
ปีที่รายงาน 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, 1990)โดยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 5) เพื่อประเมินภาพรวมทั้ง 4 ด้านของซิปโมเดล (CIPP Model) และ 6) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการนี้คือ 1) นักเรียน จำนวน 251 คน 2)ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 96 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 251 คน และ 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ และรวบรวมข้อมูล คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 เป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ประเมินโดย นักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 เป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ประเมินโดยนักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบประเมินที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.826 - 0.834 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ค่าร้อยละ (%) 2) ค่าเฉลี่ย ( ) 3) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 4) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (α) ของครอนบราค (Cronbach) และ 6) ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามโดยใช้เทคนิค IOC (Index of Item Objective Congruence)
ผลการประเมินโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 พบว่า
1) ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ ความต้องการและความจำเป็นความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องกับนโยบาย และความเป็นได้ของโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38 ,S.D. = 0.62)
2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ ความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.31 ,S.D. = 0.66)
3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ การวางแผน (P) การดำเนินการ (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา (A) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49 ,S.D. = 0.61)
4) ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48 ,S.D. = 0.73)
5) ผลการประเมินโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42 ,S.D. = 0.65)
และ 6) ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการ ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47 ,S.D. = 0.69)