LASTEST NEWS

31 ส.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครพนักงานราชการครู 12 อัตรา เงินเดือน 18,000- บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567กรมป่าไม้ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 30 อัตรา สมัครทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 2 - 26 กันยายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ 30 ส.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 รับสมัครพนักงานจ้างเหมาบริการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 4 กันยายน 2567 30 ส.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 30 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากน้ำ รับสมัครธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 2 กันยายน 2567  30 ส.ค. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567  29 ส.ค. 2567โรงเรียนบ้านปากคลอง รับสมัครธุรการโรงเรียน เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 31 สิงหาคม 2567 29 ส.ค. 2567ด่วน!! ก.ค.ศ.อนุมัติอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการฯ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2567 จำนวน 13,181 อัตรา 29 ส.ค. 2567โรงเรียนวัดหนองขานาง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกปฐมวัย เงินเดือน 6,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 กันยายน 2567 28 ส.ค. 2567สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 4 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว 3 กันยายน 2567

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนฯบ้านสวนโหนด

usericon

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด
ปีการศึกษา 2564 โดยนายกิตติศักดิ์ ชุมใหม่ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสวนโหนด
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวนทั้งสิ้น 128 คน ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 11 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้บริหาร) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 52 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 40 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 18 คน ซึ่งมีผลสรุปการประเมินโครงการ ดังนี้
1. ด้านบริบท (Context Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสวนโหนด มีความคิดเห็นต่อระดับความสอดคล้องของบริบท โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านสวนโหนด มีความคิดเห็นต่อระดับความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้น โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564โดยรวมในระดับมากที่สุด
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียน
บ้านสวนโหนด มีความคิดเห็นต่อระดับความเหมาะสมของกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564โดยรวมในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation)
     ด้านผลผลิต คุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน ผลการประเมินพบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด มีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน โดยรวมในระดับมาก
     ด้านความพึงพอใจต่อโครงการ ผลการประเมินพบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ความพึงพอใจต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านสวนโหนด ปีการศึกษา 2564 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
    1. ควรมีการสะท้อนผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานในโครงการ
เพื่อสังเคราะห์จุดเด่นของโครงการ และจุดควรพัฒนา รวมถึงแนวทางการพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ควรมีการรายงานผลการประเมินโครงการต่าง ๆ ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
    1. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในกระบวนการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    2. ควรศึกษาตัวแปรอื่นของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ได้แก่ ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว การดูแลเลี้ยงดูบุตรหลาน เป็นต้น
    3. ควรศึกษาบทบาทของผู้ปกครองและชุมชนที่มีอิทธิพลต่อผลการจัดโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^