ผลการเปรียบเทียบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสรรค
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์เศษวัสดุ จำนวน 11 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวน 2 เล่ม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิธีดำเนินการ ผู้วิจัยได้ทดสอบก่อนเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้วิธีเรียนแบบปกติในกลุ่มควบคุมไปกับกลุ่มทดลองโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์เศษวัสดุ ทั้งหมด 11 เล่ม ทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนและทดสอบหลังเรียน สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 5/1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์เศษวัสดุและการเรียนการสอนโดยวิธีเรียนแบบปกติ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ การหาค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์เศษวัสดุ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น จำนวน 11 เล่ม จากการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มทดลอง) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุxxxล) จังหวัดพะเยา กองการศึกษาเทศบาลเมืองพะเยา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 พบว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ในภาพรวมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.31/84.11
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองจากการใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์เศษวัสดุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 และกลุ่มควบคุมจากการเรียนด้วยวิธีเรียนแบบปกติโดยการใช้หนังสือเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุxxxล) จังหวัดพะเยา กองการศึกษาเทศบาลเมืองพะเยา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนของกลุ่มควบคุม
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มทดลอง) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 33 คน ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสรรค์งานประดิษฐ์เศษวัสดุ จากการตอบแบบสอบถาม จำนวน 10 ข้อรายการ พบว่า นักเรียนมีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.99, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายเล่ม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจว่าเหมาะสมในระดับมากที่สุดทุกเล่ม