การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านสำโรง (บางม
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านสำโรง (บางมด 2514)
ชื่อผู้ประเมิน นายตฤณ สุขนวล
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสำโรง (บางมด 2514)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนบ้านสำโรง(บางมด 2514) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ ( CIPP Model ) ประเมินโครงการในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต และศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินโครงการ กลุ่มประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 10 คน นักเรียน จำนวน 47 คน และผู้ปกครอง จำนวน 47 คน รวม 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถาม 2 ฉบับ แบ่งออกเป็น ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ในด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ สำหรับฉบับที่ 2 เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง ในด้านผลผลิตและความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมินได้ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ความคิดเห็นของผู้บริหาร/ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่มีต่อด้านสภาวะแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้บริหารและครูมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีความเห็นอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ความคิดเห็นของผู้บริหาร/ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่มีต่อด้านปัจจัยนำเข้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ทุกกลุ่มมีความเห็นอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการ (Process) ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ที่มีต่อด้านกระบวนการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้บริหารและครูมีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและคณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ มีความเห็นอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product) ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อด้านผลผลิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้บริหาร/ครู และนักเรียน มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผู้ปกครอง มีความเห็นอยู่ในระดับมาก
5. ความพึงพอใจพอใจการดำเนินโครงการ ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อความพึงพอใจการดำเนินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ผู้บริหาร/ครู และนักเรียน มีความเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผู้ปกครอง มีความเห็นอยู่ในระดับมาก