การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์
จังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2556
ผู้ศึกษา นายรติพงษ์ รักษาพันธุ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ ดังนั้นความ
มุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ คือ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ ที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์
(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.22 ถึง 0.97 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.23 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่าน
คิดวิเคราะห์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.91
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และค่าทดสอบที t-test (Paired – Samples
T Test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 76.62/81.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75
ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.57 แสดงว่าโดยภาพรวมนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.57 คิดเป็นร้อยละ 57.0
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับ มาก
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์
จังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2556
ผู้ศึกษา นายรติพงษ์ รักษาพันธุ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านและการคิดวิเคราะห์ ดังนั้นความมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ คือ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ ที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์
(4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .22 ถึง .97 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .23 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ .96 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามเท่ากับ .91
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/ E2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) และค่าทดสอบที t-test (Paired – Samples
T Test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.18/83.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ .57 แสดงว่าโดยภาพรวมนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น .57 คิดเป็นร้อยละ 57
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านคิดวิเคราะห์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับ มาก
[/blockquote]